ซีพี-เมจิ ผนึกกำลังกรมอุทยานแห่งชาติฯ และจ.สระบุรี เพิ่มพื้นที่สีเขียว ฟื้นป่าต้นน้ำ - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Sunday, May 30, 2021

ซีพี-เมจิ ผนึกกำลังกรมอุทยานแห่งชาติฯ และจ.สระบุรี เพิ่มพื้นที่สีเขียว ฟื้นป่าต้นน้ำ

01%2B%25282%2529


กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกับจังหวัดสระบุรี และ บริษัท ซีพี – เมจิ จำกัด จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ บริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น ต.ห้วยแห้ง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี สานต่อความร่วมมือเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศไทย เดินหน้าลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน


04%2B%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%258D%25E0%25B8%258D%25E0%25B8%25B2%2B%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A5


กิจกรรมปลูกป่าโครงการรักษ์ป่า รักษ์น้ำ รักแผ่นดิน ในวันนี้ (27 พ.ค.) มีนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายสมภพ สมิตะสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นายสมหวัง เรืองนิวัติศัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ นายอนันต์ ปิ่นน้อย ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ นายนิธิ อาจสมรรถ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี นางสาวสลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด เครือข่ายจิตอาสา และประชาชนในพื้นที่ ร่วมปลูกต้นไม้ ภายใต้โครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่าจังหวัดสระบุรี ประจำปี 2564 และเนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2563 และเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น บ้านบุใหญ่ ต.ห้วยแห้ง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า การดำเนินโครงการในวันนี้ เป็นการบูรณาการระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติฯ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จังหวัดสระบุรี ภาคเอกชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามโครงการปลูกป่าป้องกันไฟป่าในพื้นที่จังหวัดสระบุรี โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยราชการต่างๆ จิตอาสา904 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน คือ บริษัท ซีพี - เมจิ จำกัด ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลับมาเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งให้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ร่วมดำเนินการแก้ปัญหาไฟป่าแบบบูรณาการ สร้างฝายผสมผสานจำนวน 10 แห่ง จัดทำแนวกันไฟ สนับสนุนอุปกรณ์ดับไฟป่า และสร้างเครือข่ายชุมชน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนกองทุนสวัสดิการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

"กิจกรรมครั้งนี้ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าร้อยละ 55 ของประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2570 โดยจังหวัดสระบุรีมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ปลูกป่ามากกว่า 1.6 หมื่นไร่ เพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารที่เสื่อมโทรม แก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม สร้างจิตสำนึกของการมีส่วนร่วมในการปลูกป่า" อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าว

05%2B%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%258C%2B%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A9%25E0%25B9%258C%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%258A


ทางด้าน นางสาวสลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด กล่าวว่า ซีพี-เมจิ รู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในวันนี้ ซึ่งเป็นการสานความร่วมมือในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางกรมอุทยานแห่งชาติ ฯได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding) กับ บริษัท ซีพี – เมจิ จำกัด ในโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จังหวัดสระบุรี ซึ่งเราทุกคนตระหนักดีว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องเร่งด่วนและเป็นสัญญาณเตือนให้ร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน คืนสมดุลระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความสำคัญต่อทุกชีวิตบนโลก

"ความร่วมมือในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะนำมาสู่ความร่วมมือของทุกภาคส่วน แก้ปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สร้างประโยชน์กับคนในพื้นที่และประเทศชาติ ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน ที่ทุกบริษัทในเครือซีพียึดปฏิบัติมาโดยตลอด คือ ประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และมองประโยชน์ต่อบริษัทเป็นลำดับสุดท้าย" นางสาวสลิลรัตน์ กล่าว

ทั้งนี้ ในปี 2564 นี้ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด จะร่วมฟื้นฟูผืนป่าที่เสื่อมโทรม ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จำนวน 50 ไร่ โดยมีเป้าหมายปลูกต้นไม้ทั้งหมด 10,000 กล้า ประกอบด้วย ต้นพะยูง สมอพิเภก แคนา ประดู่ป่า พะยอม กาญจนิการ์ และขี้เหล็ก เป็นต้น ซึ่งจะทะยอยปลูกต้นไม้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงนี้ซึ่งเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ที่รับจ้างปลูกต้นไม้ และเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนมีส่วนร่วมดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages