Dow เปิดตัวเม็ดพลาสติกผลิตฟิล์มชีวภาพ จากของเหลือในอุตสาหกรรมกระดาษ ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Thursday, September 24, 2020

Dow เปิดตัวเม็ดพลาสติกผลิตฟิล์มชีวภาพ จากของเหลือในอุตสาหกรรมกระดาษ ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก

NanoBio%2B3


กรุงเทพฯ – 22 กันยายน 2563 – บริษัท ดาว (Dow) ร่วมกับคู่ค้าเปิดตัวฟิล์มพลาสติกชีวภาพใหม่ มีคุณภาพสูง คุณสมบัติเด่นบางลงแต่แข็งแรงยิ่งขึ้น และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพราะผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมกระดาษ

เม็ดพลาสติกชีวภาพตัวใหม่นี้ต่างจากสินค้าที่ทำจากวัตถุดิบหมุนเวียนชนิดอื่นๆ เพราะผลิตขึ้นจากของเหลือ ไม่ได้นำพืชที่เป็นอาหารของมนุษย์มาใช้ และไม่เป็นสาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่าเพราะไม่ต้องใช้ที่ดินในการเพาะปลูกพืชเพิ่มเติม ความร่วมมือครั้งนี้ บริษัททองกวนอินดัสทรีส์ (Thong Guan Industries) หนึ่งในผู้นำด้านการผลิตฟิล์มพลาสติกยืดของโลกจะใช้เม็ดพลาสติกของ Dow ที่ผลิตจากน้ำมันเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษซึ่งได้มาจากป่าที่ได้รับการดูแลอย่างยั่งยืน

 

1600851280422_GettyImages-680787407

ฟิล์มพลาสติกยืดชนิดนี้ ใช้พันยึดพาเลท และลังบรรจุสินค้าต่างๆ เพื่อช่วยป้องกันความเสียหาย รวมทั้งอุบัติเหตุระหว่างการขนส่ง ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของแบรนด์ตอบสนองต่อตลาดในเอเชียแปซิฟิกที่ต้องการพลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นได้เป็นอย่างดีติ้ง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าพลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากการเพาะปลูกพืชที่นิยมใช้กันทั่วไปอีกด้วย

ฟิล์มพลาสติกชีวภาพนี้เรียกว่า นาโนไบโอ เป็นอีกขั้นของฟิล์มพลาสติกยืดของ Thong Guan Industries ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีน ELITE™ 5230GC R Enhanced Polyethylene Resins ซึ่งเป็นพลาสติกชนิด LLDPE (linear low-density polyethylene) หรือ โพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น

บัมบัง จันดรา รองประธานฝ่ายธุรกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษของ Dow กล่าวว่า “เพื่อจะให้บรรลุเป้าการทำงานใหม่ด้านการต้านโลกร้อนของ Dow เราตั้งใจที่ใช้และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรน้อยลง และช่วยให้ลูกค้าของเราลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ Dow ยังตั้งเป้าที่จะหยุดขยะพลาสติกในธรรมชาติ โดยจะเก็บพลาสติกให้ได้ 1 ล้านตัน เพื่อนำมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลให้ได้ภายในปี 2573 ร่วมถึงส่งเสริมวงจรรีไซเคิล โดยตั้งเป้าหมายว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ Dow ที่นำไปผลิตเป็นแพคเกจจิ้งจะต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้ภายในปี 2578”

ฟิล์มพลาสติกยืด นาโนไบโอ ดังกล่าวผลิตจากเทคโนโลยีล้ำสมัย ใช้เม็ดพลาสติกน้อยลงแต่มีความแข็งแรง ยืดหยุ่น ทนทานมากขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะผลิตจากไบโอแนฟทาที่มาจากน้ำมันเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษ ซึ่งช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมากเมื่อเทียบกับเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนที่ได้มาจากน้ำมันฟอลซิลแบบดั้งเดิม รวมทั้งยังน้อยกว่าพลาสติกชีวภาพจากการเพาะปลูกพืชทั่วไป

ยูนิซ เชิง ผู้จัดการอาวุโสด้านการตลาด ธุรกิจบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Dow กล่าวว่า “การเปิดตัวเม็ดพลาสติกที่ทำมาจากวัตถุดิบจากธรรมชาติครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดของเรา เป็นกุญแจสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ก้าวหน้าขึ้น เราภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับ Thong Guan Industries ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ยาวนานของเรา พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของเรา”

“เราตั้งใจที่รักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ลูกหลานในอนาคต ความร่วมมือกับ Dow ในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราที่จะคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่มาจากวัถตุดิบหมุนเวียนและส่งเสริมความยั่งยืน ด้วยเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงที่ผลิตมาจากวัตถุดิบธรรมชาติของ Dow นาโนไบโอของเราจึงสามารถลดจำนวนพลาสติกที่ใช้ในการผลิตแต่คงประสิทธิภาพสูงของสินค้าไว้ได้เหมือนเดิม สิ่งนี้ตอบโจทย์ธุรกิจของลูกค้าและความต้องการด้านความยั่งยืน” ดาโต๊ะ อัง พูน ชวน กรรมการผู้จัดการ Thong Guan Industries กล่าว

เดวิด อัง ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด Thong Guan Industries กล่าวสรุปว่า “ที่ Thong Guan ความยั่งยืนไม่ใช่เป็นแค่คำพูดสวยหรู และความตั้งใจของเราไม่ได้ออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์อย่างเดียวเท่านั้น แต่อยู่ในกระบวนการและการใช้ทรัพยากรในแต่ละวันของเราด้วย เป็นความตั้งใจที่ชัดเจนที่จะปกป้องบ้านเกิดของเรา ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก และสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศให้กับลูกหลานของเรา”

การผลิตเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนนี้ยังได้รับการรับรองจาก International Sustainability & Carbon Certification หรือ ISCC ว่ามาจากทรัพยากรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังสามารถหาแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้ในทุกขั้นตอนการผลิต

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages