สำหรับงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และ ภาคเอกชน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทข้าวหงษ์ทอง ร่วมกันสืบสาน ต่อยอด จัดงานในครั้งนี้ โดยเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการดำเนินงาน 9 ด้าน สู่ชัยชนะแห่งการพัฒนา ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึงภัยธรรมชาติ ด้านพลังงานทดแทน ด้านสาธารณสุข ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านความมั่นคงทางอาหาร ด้านการศึกษา ด้านสังคมและวัฒนธรรม และโครงการภัทรพัฒน์ เพื่อสร้างการรับรู้ – เรียนรู้ โครงการในพระราชดำริ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจ ผ่านโครงการนับร้อยนับพันสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อสืบสานโครงการในพระราชดำริให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ต่อยอดให้คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ตลอดจนผู้ประกอบการผลิตผลจาการพัฒนาของโครงการ และคนรุ่นใหม่ โดยกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 - 5 ธันวาคม 2565 ณ เมืองสุขสยาม ชั้น G ไอคอนสยาม โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานเปิดงาน
ภายในพิธีเปิดงานมีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานจำนวนมาก อาทิ คุณสุพร ตรีนรินทร์ ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ รักษาราชการแทน รองเลขาธิการ กปร., คุณลักขณา นะวิโรจน์ ประธานโครงการสุขสยาม, คุณชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด และกรรมการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด, คุณวิรัช เมฆสัมพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการพิเศษ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และคุณอารยา ภู่พานิช รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), คุณกัมปนาท มานะธัญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จำกัด และคุณนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตลอดจนผู้ประกอบการ และร้านค้าต่างๆ ในเมืองสุขสยาม ที่เข้ามาร่วมสัมผัสบรรยากาศในพิธีเปิด และเยี่ยมชมงานกันอย่างคึกคัก
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เปิดเผยว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับเมืองสุขสยาม จัดงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ขึ้น ภายใต้แนวคิด “จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระผู้ทรงก่อตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา ผ่านงานพัฒนาด้านต่างๆ จนเกิดเป็นผลิตผลจากการพัฒนา ผ่านโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ภายในงานได้รวบรวมผลิตผลจากการพัฒนาโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโครงการทหารพันธุ์ดี และผลิตภัณฑ์จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้ง 6 ศูนย์ โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงาน กปร. มาร่วมจัดงานในครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังมีการจัดเวทีเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวการพัฒนาด้านต่างๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา ผ่านผู้มีประสบการณ์และปฏิบัติงานจริง ใน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงานทดแทน ด้านสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อสร้างการรับรู้และเรียนรู้ความสำเร็จจากการพัฒนา อีกทั้งเพื่อสร้างแรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่ รวมถึงผู้ที่สนใจทั้งคนไทยและต่างชาติ
ภายในงานยังได้มีการจัดพื้นที่เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานรวมถึงนักท่องเที่ยวได้เข้ามาทำกิจกรรมที่สนใจ อาทิ อาหารไทย ขนมไทย งานหัตถกรรม เป็นต้น และพิเศษในวันสุดท้ายของการจัดงาน คือวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้มีมติยอมรับให้วันนี้เป็นวันสำคัญสากลคือ “วันดินโลก” จะมีการถ่ายทอดเรื่องราววันดินโลกให้ได้รับฟัง เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ถึงพระวิสัยทัศน์ในการบริหารทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน เกิดผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ
คุณลักขณา นะวิโรจน์ ประธานโครงการสุขสยาม กล่าวว่า เมืองสุขสยามได้เนรมิตพื้นที่ถ่ายทอดเรื่องราวชัยชนะแห่งการพัฒนา จากพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ผ่านการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สร้างการรับรู้ – เรียนรู้ โครงการในพระราชดำริที่แก้ไขปัญหาความทุกข์ยาก พัฒนาความเป็นอยู่และสร้างประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าชมงาน เยาวชน คนรุ่นใหม่ สืบสานพระราชปณิธานสืบต่อไป โดยคาดหวังว่างานชัยพัฒนาแฟร์ ที่จัดขึ้นในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการให้โอกาสผู้คนทุกกลุ่มทุกวัย ได้เข้าใจแนวพระราชดำริของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 และสามารถนำไปต่อยอด ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต
ภายในงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ได้แบ่งพื้นที่เป็นโซนจัดแสดง 9 ด้านงานพัฒนาในด้านต่างๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา และโซนข้าวแดนสยาม โดยกลุ่มบริษัทข้าวหงษ์ทอง นำเสนอโครงการนำเสนอเกี่ยวกับ “ข้าวหอมมะลิใหม่ต้นฤดู Limited Edition” ผ่านเรื่องราวของ โครงการหงษ์ทองนาหยอด ที่ก่อตั้งขึ้นจากพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตให้แก่ชาวนา และเกษตรกรอย่างมากมาย
สำหรับ โซนจัดแสดง 9 ด้านงานพัฒนาในด้านต่างๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา ประกอบด้วย
1. ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ โดยร้าน “จันกะผัก” เสนอผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิและผักปลอดสาร เมล็ดพันธุ์ผัก ฯลฯ โครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม นำเสนอ น้ำพิงค์พาร์คสูตรพระราชทาน ขนมและงานฝีมือจากศิษย์อุทยานฯ เป็นต้น /ศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตรสิรินธร จังหวัดพิจิตร เสนอผลิตภัณฑ์ ผักปลอดภัย ข้าวและผลไม้แช่อิ่ม /โรงสีข้าวมูลนิธิชัยพัฒนาลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เสนอผลิตภัณฑ์ ข้าวปลอดสารพิษ
2. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี นำเสนอผลสำเร็จจากการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและขยะ / โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา จัดแสดงกังหันน้ำชัยพัฒนาจำลองและรับชมวีดิทัศน์เรื่องราวความเป็นมา / เรียนรู้เรื่องของการ “ฟื้นฟูป่า” กับโครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเมล็ดคามีเลียและน้ำมันพืชอื่น จังหวัดเชียงราย พร้อมสาธิตการหีบน้ำมันเมล็ดคามีเลีย และจำหน่ายปุ๋ยโบกาฉิ สำหรับฟื้นฟูดิน/โครงการหมู่บ้านชัยพัฒนา – กาชาดไทย (บ้านทุ่งรัก) จังหวัดพังงา เสนอผลิตภัณฑ์กะปิคุณภาพ ที่ทำจากกุ้งเคยแท้ และงานหัตถกรรมผ้าย้อมจากต้นเสม็ด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ประสบภัยสึนามิ
3. ด้านพลังงาน โครงการโรงงานสกัดน้ำมันพืชและผลิตไบโอดีเซลครบวงจร จังหวัดเพชรบุรี นำเสนอเรื่องราวการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ตามพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 และการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการปลูกโกโก้ มะม่วงเบา สมุนไพร ฯลฯ จนสามารถแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายสร้างรายได้เสริมให้โครงการฯ
4. ด้านสาธารณสุข ด้านสาธารณสุข นำเสนอเรื่องราวด้าน “โภชนาการ” ของน้ำมันเมล็ดคามีเลีย ภัทรพัฒน์ ที่ได้สมญานามว่าเป็นน้ำมันมะกอกแห่งโลกตะวันออก โดยโครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเมล็ดคามีเลียและน้ำมันพืชอื่น จังหวัดเชียงราย /ทำความรู้จัก “ไข่ไก่ อารมณ์ดี happy chicken ไข่โอเมก้า” และกองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ) ที่มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมกับคนไทยและกระทรวงสาธารณสุข สู้ภัยโควิด-19 ที่ผ่านมา
5. ด้านต่างประเทศ นำเสนอเรื่องราว โครงการระหว่างประเทศของมูลนิธิชัยพัฒนา เช่น โครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวัฒนธรรมระยะสั้นระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนาและสาธารณรัฐสิงคโปร์ และโครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนาและสาธารณรัฐประชาชนลาวที่มีหลากหลายโครงการ
6. ด้านความมั่นคงทางด้านอาหาร นำเสนอ “เมล็ดพันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน” โดยศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ / โครงการทหารพันธุ์ดี นำเสนอผลิตภัณฑ์ “ผักและผลผลิตที่ได้จากโครงการทหารพันธุ์ดี และโครงการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน มูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดปราจีนบุรี นำเสนอ “ผักไฮโดรโปรนิกส์”
7. ด้านการศึกษา นำเสนอเรื่องราวของนักเรียนทุนพระราชทาน ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และครู เป็นต้น นอกจากนี้ยังร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่ภาคใต้พัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนทางไกลแบบสองทาง ตลอดจนการร่วมพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เช่น โรงเรียนอุดมศาสน์วิทยาและโรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยา จังหวัดยะลา
8. ด้านสังคมและวัฒนธรรม นำเสนอเรื่องราวโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ จังหวัดสมุทรสงคราม และวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก วัดที่สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่มีพระราชประสงค์ให้เป็นแบบอย่างในการก่อสร้างวัดขนาดเล็ก เพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชุมชนบริเวณใกล้เคียง และเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ในการเผยแผ่ศีลธรรม และจริยธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน ตามหลัก บ-ว-ร
9. ด้านภัทรพัฒน์ นำเสนอผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่ผลิตภัณฑ์ดีไซน์ร่วมสมัย อาทิ ผ้าไหม และ ผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก
นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอเรื่องราวศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 ศูนย์ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้แก่
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส นำเสนอผลิตภัณฑ์ ผ้าทอบ้านตอหลัง ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสื่อกระจูด พืชท้องถิ่นสู่งานหัตถกรรมพื้นบ้านของภาคใต้ ข้าวกล้องหอมกระดัง บ้านตอหลัง – ทรายขาว จังหวัดนราธิวาส สบู่กลีเซอรีน ผลิตภัณฑ์ไม้เสม็ด เป็นต้น
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอผลิตภัณฑ์ อาทิ ชาเห็ดหัวลิง ชาผักเชียงดา ปลาหยอง น้ำพริกปลานิลหยอง ปลากดหลวงรมควัน เห็ดสวรรค์ กาแฟเทพเสด็จ น้ำผึ้งจากดอกกาแฟ เป็นต้น
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จังหวัดจันทบุรี นำเสนอผลิตภัณฑ์ เช่น กะปิ ผลิตจากกุ้งเคยแท้ น้ำพริกเผาหอยนางรม น้ำมังคุด น้ำลูกหม่อน
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนคร นำเสนอผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายย้อมครามสีธรรมชาติผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์ที่ระลึกภาพวาด
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา นำเสนอผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลไม้อบแห้ง แชมพูสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เห็ดแคปซูล
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ นำเสนอผลิตภัณฑ์ ยาดมสมุนไพร เซรั่มเห็ดเยื่อไผ่ ไอศกรีมนมสด ผลิตภัณฑ์จากถ่านชีวภาพ แชมพูประคำดีควาย
อีกไฮไลท์สำคัญคือ โซนข้าวแดนสยาม โดยกลุ่มบริษัทข้าวหงษ์ทอง นำเสนอโครงการหงษ์ทองนาหยอด โครงการในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรม
No comments:
Post a Comment