พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ ความท้าทายของการผลิตและการตลาดแบบออร์แกนิก ประจำปี’67 (International Workshop Programme on GO Organic : The Challenges of Organic Production and Marketing) ณ ห้องประชุม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567)
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนานาชาตินี้ เป็นความร่วมมือของมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. พร้อมด้วยกระทรวงการต่างประเทศ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) ซึ่งมุ่งกลุ่มเรียนรู้จากนานาชาติ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 - 8 มิถุนายน 2567 ในรูปแบบการบรรยาย อภิปราย และการศึกษาดูงานในพื้นที่ปฏิบัติงานของมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง 2 แห่ง ได้แก่ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และเยี่ยมชมริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต เรียนรู้กระบวนการขายผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก
ศ.เกียรติคุณ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ กรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวงและประธานคณะทำงานวิจัยมูลนิธิโครงการหลวง กล่าวว่า มูลนิธิโครงการหลวงมุ่งพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง โดยให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเกษตรกรรมที่ยั่งยืนบนพื้นที่สูง นำระบบมาตรฐานการเพาะปลูกที่ดีมาใช้ควบคุมกระบวนการเพาะปลูกของเกษตรกรตั้งแต่ในแปลงผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จนได้รับการรับรองมาตรฐานการเพาะปลูกที่ดี (GAP) และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2547
ปัจจุบัน มูลนิธิโครงการหลวงได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในการผลิตพืชผักและสมุนไพร ผลไม้ พืชไร่ กาแฟ และชา รวม 76 ชนิดพืช โดยมีผลผลิตพืชผักและผลไม้อินทรีย์กว่า 10% ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์
ดร.เพชรดา อยู่สุข รองผู้อำนวยการสถาบันด้านบริหารจัดการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง หรือ สวพส. กล่าวว่า มูลนิธิโครงการหลวง ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) ได้ขยายผลความสำเร็จของการผลิตพืชผักอินทรีย์ไปยังพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ และต่างประเทศ อาทิ สปป. ลาว และเมียนมา เพื่อเป็นการสร้างอาชีพทางเลือกให้กับเกษตรกร ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทำเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่สูง นอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรแล้ว ยังเป็นการผลิตที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการนานาชาติจาก 10 ประเทศ คือ ประเทศบังกลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และประเทศไทย จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาพื้นที่สูงโดยถ่ายทอดตัวอย่างความสำเร็จทั้งจากเกษตรกรในพื้นที่ ผู้นำชุมชน นักพัฒนาชุมชน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นที่สูงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) และโมเดลเศรษฐกิจสีเขียวชีวภาพ (BCG) ตามแนวทางของมูลนิธิโครงการหลวง (Royal Project Model)
เรียนรู้ความสำเร็จจากเกษตรกรในพื้นที่สูงมาสู่ระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการบรรยายในหัวข้อต่างๆ อาทิ เทรนด์ตลาดผลิตภัณฑ์ออแกนิกและการเติบโต มาตรฐานออร์แกนิกในประเทศไทย และการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้มาตรฐานรับรอง (Certification) กระบวนการจัดการการผลิต การขนส่งผลิตภัณฑ์โครงการหลวงจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร ลดการสูญเสียอาหาร มาตรฐานการควบคุมการผลิต การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงของเกษตกรและเจ้าหน้าที่ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาและปรับใช้ประโยชน์ในการรับมือกับความท้าทายของแต่ละประเทศ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการพัฒนาเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนในอนาคต
เรียนรู้ความสำเร็จจากเกษตรกรในพื้นที่สูงมาสู่ระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการบรรยายในหัวข้อต่างๆ อาทิ เทรนด์ตลาดผลิตภัณฑ์ออแกนิกและการเติบโต มาตรฐานออร์แกนิกในประเทศไทย และการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้มาตรฐานรับรอง (Certification) กระบวนการจัดการการผลิต การขนส่งผลิตภัณฑ์โครงการหลวงจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร ลดการสูญเสียอาหาร มาตรฐานการควบคุมการผลิต การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงของเกษตกรและเจ้าหน้าที่ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาและปรับใช้ประโยชน์ในการรับมือกับความท้าทายของแต่ละประเทศ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการพัฒนาเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนในอนาคต
No comments:
Post a Comment