สรอ. สสส. จับมือ 5 ภาคี เครือข่ายจัดประชุมวิชาการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมให้ความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ พร้อมชี้แนะแนวทางสู่ความสำเร็จการดำเนินงานงานด้านการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีแก่คนวัยทำงานในสถานประกอบการอย่างมีส่วนร่วมตามนโยบายรัฐ พร้อมจัดพิธีมอบโล่รางวัล-ใบรับรองให้องค์กรนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ Wellness Center ก่อนขยายโครงการสู่พื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ หวังเพิ่มศักยภาพการเติบโตภาคอุตสาหกรรม
วันที่ 21 มีนาคม 2566 นายแพทย์ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล ที่ปรึกษาระดับกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) ผู้อำนวยการสำนักบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ "เสริมพลังกาย สร้างพลังความรู้ สู่สุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการอย่างมีส่วนร่วม (Healthy Living)" ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (TISI) และสำนักงานประกันสังคม มาร่วมแบ่งปันความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ดำเนินงานนำไปสู่การขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้แก่คนวัยทำงานในสถานประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ณ โรงแรม ทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น
นอกจากนี้ยังมีการเปิดเวทีเสวนาวิชาการให้ความรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการการดูแลสุขภาพที่ดีให้แก่คนวัยทงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ เรื่องการสานพลังร่วมขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการก้าวที่ยิ่งใหญ่ของกลไกศูนย์สุขภาพดีวัยทำงาน การบรรยายเรื่องทิศทางโครงการ Healthy Living จากวันนั้นถึงวันนี้และก้าวต่อไปในอนาคตข้างหน้า รวมถึงมีการร่วมแบ่งปันความรู้ในหัวข้อทำอย่างไรจึงจะขับเคลื่อนศูนย์สุขภาพดีวัยทำงานให้ประสบความสำเร็จในมุมมองของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงาน และการจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพคนวันทำงานจากโรงพยาบาลและสถานประกอบการที่ร่วมดำเนินงานโครงการฯ รวมกว่า 30 แห่งอีกด้วย
“การสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับบุคลากรในสถานประกอบการรวมถึงการสร้างวิถีให้เกิดการทำงานในรูปแบบ Healthy Living ได้จะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งเสริมให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นการสร้างองค์ความรู้และมีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาสู่สถานที่ทำงานหรือสถานประกอบการจึงเป็นเรื่องที่องค์กรต่างๆ ควรให้ความสำคัญเพราะนั่นจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมส่งเสริมการเติบโตขององค์กรรวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันประสิทธิภาพแรงงานของสถานประกอบการในประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆได้” นายแพทย์ภัทรพล กล่าว
No comments:
Post a Comment