โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1) - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Wednesday, June 23, 2021

โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1)

%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%25B5

แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติทางผิวหนังร่วมด้วย สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย จึงมีความเป็นห่วงประชาชนเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีหลากหลายระบบ อย่างไรก็ดีจากสถิติพบว่าประมาณ 0.2 -20% ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทั้งหมดมีอาการผื่นทางผิวหนังร่วมด้วย

 



%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%2B3


ผื่นอะไร ที่ให้สงสัยว่าเป็น COVID

รศ.พญ.ภาวิณี ฤกษ์นิมิตร อนุกรรมการประชาสัมพันธ์และงานกิจกรรมงคมสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยกล่าวว่า จากผลงานวิจัย Skin manifestations in COVID-19: The tropics experience เมื่อปีพ.ศ. 2563 พบว่าสถิติผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน153 ราย มีอาการโรคผิวหนังร่วมด้วย 23 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วน 15% โดยอาการบ่งชี้ทางผิวหนังของผู้ป่วยที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มอาการ เช่นเป็นผื่นผิวหนังแบบผื่นลมพิษ ผื่นแดงชนิด maculopapular เป็นตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หรือผิวหนังแตกเป็นแผลจากการขาดเลือด ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการทางผิวหนังในประเทศแถบยุโรป และประเทศเอเชียจะมีอาการทางผิวหนังแตกต่างกันอยู่บ้าง กล่าวคือ ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศแถบเอเชียมักมีอาการผื่นลมพิษ ผื่นแดงทั่วตัว หรือผื่นแบบตุ่มน้ำ ซึ่งพบในกลุ่มผู้ป่วยในประเทศแถบยุโรปเช่นกัน แต่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศแถบยุโรปจะมีอาการหนึ่งที่ไม่พบผู้ป่วยในประเทศไทย คือมีอาการปลายมือปลายเท้าม่วงคล้ำ (ในทางการแพทย์ รู้จักกันในนาม Covid Toe) อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น ทั้งนี้วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการทางผิวหนัง แพทย์จะรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาเสตียรอยด์รักษาอาการตุ่มนูน ตุ่มคัน หรือยาแก้แพ้รักษาอาการลมพิษ เป็นต้น


%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%2B1


สำหรับอาการทางผิวหนังที่พบในผู้ป่วยโรคโควิด-19 สามารถแยกได้เป็น 2ประเภท คือ 1.อาการผื่นผิวหนังจากโรคโควิด-19 โดยอาการบ่งชี้ก็เช่น ผู้ป่วยเป็นลมพิษ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง หรือมีแผลแตกบริเวณผิวหนัง 2.อาการผื่นผิวหนังจากการสวมหน้ากาอนามัยหรืออุปกรณ์ป้องกัน PPE ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ทำให้บางรายเป็นสิวหรือผื่นแดงบริเวณใบหน้าอันเนื่องมาจากการสวมหน้ากากอนามัยเป็นระยะเวลานาน หน้ากากอนามัยไม่สะอาด หรือบางรายเกิดจากการแพ้ส่วนประกอบบางชนิดของหน้ากากอนามัย ขณะที่บางรายมีอาการผื่นแดงตามมือจากการล้างมือบ่อยจนมือแห้งและระคายเคือง

จากข้อมูลการรักษาและการเก็บข้อมูล แม้ยังไม่พบว่าอาการทางผิวหนังของผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะก่อให้เกิดอาการรุนแรงอื่นตามมาจนถึงขั้นเสียชีวิต หากประชาชนมีอาการเป็นไข้ หายใจไม่สะดวก จมูกไม่ได้กลิ่น หรือมีอาการผื่นผิวหนังร่วมด้วยก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาแต่เนิ่น ๆ นอกจากนี้ สิ่งที่อยากฝากแก่ประชาชนทุกคนคือ การดูแลตนเองเบื้องต้นยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนห่างไกลโรคโควิด-19 ได้ ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยและควรเปลี่ยนใหม่บ่อยๆ หรือหากเป็นหน้ากากผ้าควรซักล้างทำความสะอาดสม่ำเสมอ และควรล้างมือบ่อยๆ ซึ่งหลังจากล้างมือแล้ว อาจทามอยส์เจอร์ไรเซอร์เพื่อสร้างความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ก็จะทำให้ผิวหนังไม่ระคายเคืองได้


 

%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A15

ผื่นที่ “มือ” ช่วง COVID

ผศ.พญ.สุวิรากร ธรรมศักดิ์ ประธานฝ่ายกิจกรรมสังคมสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การป้องกันเชื้อไวรัสไม่ให้เข้าสู่ร่างกายนั้น “มือ” ที่เป็นอวัยวะที่สำคัญ ที่ใช้จับสิ่งของ จับทุกสิ่งทุกอย่างแล้วมาจับหน้า จมูก ปาก ทำให้เชื้อเขาสู่ร่างกาย ได้ง่าย ดังนั้นเราสามารถลดการติดเชื้อได้โดยการล้างมือบ่อย ๆ หรือใช้แอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป ในการฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ ต่างๆ แต่การล้างมือบ่อย ๆ ทำให้มือมีการระคายเคืองได้ ลักษณะเริ่มต้นเราจะเห็นผิวที่มือแห้ง แล้วเริ่มมีการแตกและเจ็บ ถ้าเป็นมาก ๆ จะเป็นผื่นแดงหยิบจับอะไรก็แสบ เจ็บมือไปหมด ถ้าสังเกตให้ดีคนที่สัมผัสน้ำบ่อยๆไม่จำเป็นต้องโดนสบู่ ผงซักฟอกก็ทำให้มือระคายเคืองแล้ว เช่น อาชีพ แม่บ้าน พยาบาล คนทำความสะอาด ทุกคนถ้าล้างมือบ่อย ทั้งสบู่ หรือ แอลกอฮอร์ ก็ทำให้ระคายเคืองได้

สำหรับบางคน มีการแพ้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือส่วนประกอบ ไนเจลฆ่าเชื้อโรคหรือถุงมือ จะมีอาการคัน มีผื่นแดง ตุ่มน้ำและสะเก็ดลอก ซึ่งเป็นการแพ้เฉพาะบุคคล ซึ่งอาจจะต้องตรวจหาว่าแพ้อะไร จะได้หลีกเลี่ยงได้ถูกบางคนล้างมือบ่อย ๆ ทำให้มีการติดเชื้อที่จมูกเล็บ ทำให้มีการบวม เจ็บที่โคนเล็บ และติดเชื้อราได้

      

%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A14


คำแนะนำ ในการป้องกัน ไม่ให้เกิดผื่นที่มือ ทำได้ดังนี้ 1.เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ระคายเคือง สบู่สังเคราะห์จะดีกว่าสบู่ก้อนเพราะมีความเป็นด่างน้อยกว่า แอลกอฮอล์ เจล ที่มีส่วนผสมของสารให้ความชุ่มชื่น จะมีคุณสมบัติดีกว่าแอลกอฮอล์สเปรย์ แต่ทั้งคู่ฆ่าเชื้อไวรัสได้เหมือนกัน 2.ทาสารให้ความชุ่มชื่นบ่อยๆ หลังล้างมือหรือใช้แอลกอฮอร์เสมอ และทาเพิ่มเมื่อรู้สึกแห้ง พกโลชั่นหรือครีมทามือเสมอ 3.ไม่ควรล้างมือด้วยน้ำร้อน 4.ไม่จำเป็นต้องล้างมือและใช้แอลกอฮอล์ พร้อมๆกันในกรณีที่มือเปื้อนสิ่งสกปรกที่มองเห็นให้ล้างน้ำปกติ ส่วนแอลกอฮอล์ใช้กรณีที่มือไม่ได้เปื้อนมากและไม่สามารถหาที่ล้างมือได้ 5.ถุงมือช่วยลดการสัมผัสได้ แต่ต้องคอยเปลี่ยนบ่อย ๆ อย่าใส่จนเหงื่ออกเปียกเกิดความอับชื้นหรือน้ำเข้าต้องเปลี่ยนทันที และไม่ควรใส่ถุงมือหลังล้างมือทันทีหรือทาแอลกอฮอล์ เพราะจะเพิ่มอัตราการระคายเคืองได้ 6.ถ้ามีผิวหนังอักเสบ ใช้ยารักษาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์อ่อน ๆ ได้ เช่น 0.02% Triamcinolone cream แต่ถ้าทาแล้วไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์ควรไปพบแพทย์ผิวหนัง

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages