เรื่องเล่าจากบอสตัน...หวนรำลึกดร.โจเซฟ เมอร์เรย์ แพทย์ผู้ปลูกถ่ายไตคนแรกของโลก โดย พญ.พิชชาพร นิสสัยสรการ อายุรแพทย์โรคไตและผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายไต เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Wednesday, June 9, 2021

เรื่องเล่าจากบอสตัน...หวนรำลึกดร.โจเซฟ เมอร์เรย์ แพทย์ผู้ปลูกถ่ายไตคนแรกของโลก โดย พญ.พิชชาพร นิสสัยสรการ อายุรแพทย์โรคไตและผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายไต เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A3.%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2588%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%259F%2B%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%258C%2B2

โรคไตเป็นปัญหาทางสุขภาพที่มีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคมปัจจุบันเพราะลักษณะนิสัยการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มและอาหารที่คล้ายคลึงกับโลกตะวันตก นำมาด้วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไตในอันดับต้น ๆ และนำมาสู่ภาวะไตวาย

%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%258D.%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%2B%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%2B%2B%2B2


พญ.พิชชาพร นิสสัยสรการ อายุรแพทย์โรคไตและผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายไต กล่าวว่า ในปัจจุบันมีคนไทยเป็นโรคไต 8 ล้านคนโดยในจำนวนนี้มีผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ทำการฟอกเลือดอยู่กว่า 1 แสนคน ล้างไตทางช่องท้องกว่า 3 หมื่นคนและมีผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่ายไตกว่า 6 พันคน กว่าที่วงการแพทย์จะเจริญก้าวหน้าอย่างในปัจจุบัน ได้ผ่านการพัฒนามาโดยตลอด หากมองย้อนกลับไปจะพบว่าวิธีการรักษาโรคไตในปัจจุบันค่อนข้างใหม่และเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาไม่นาน โดยการรักษาโรคไตมีวิวัฒนาการอย่างก้าวกระโดดในปี ค.ศ. 1945 เมื่อวิลเลียม คอลฟฟ์ แพทย์ชาวดัตช์ได้คิดค้นอุปกรณ์การฟอกเลือดและการทำฟอกไตทางเส้นเลือดได้สำเร็จเป็นรายแรกของโลก

%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%259D%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2596%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2595


ซึ่งหากย้อนรำลึกถึงการรักษาโรคไตจากอดีตถึงปัจจุบัน ทำให้คิดถึงแพทย์อีกกลุ่มหนึ่งที่พยายามทำการปลูกถ่ายอวัยวะที่ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกจากการทดลองในสัตว์ในต้นคริสต์ศตวรรษ1900 ที่ประเทศออสเตรีย โดยเริ่มจากการนำไตจากสุนัขมาปลูกถ่ายในแพะ หลังจากนั้นได้มีความพยายามหลายครั้งในการปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์สู่คน (ไตแพะและไตหมู ในปี ค.ศ.1906 โดยผู้ป่วยปลูกถ่ายทั้งสองเสียชีวิตภายในไม่กี่วัน หลังการผ่าตัด โดยตรวจพบภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดของไต) และจากคนสู่คน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1936 เป็นต้นมา แต่อวัยวะเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้เลย

เมื่อมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ได้รู้ว่าสาเหตุหลักที่ทำให้การปลูกถ่ายอวัยวะจากคนสู่คนไม่สำเร็จ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเอง ในสมัยแรก ๆ ได้พยายามทำการปลูกถ่ายอวัยวะโดยที่หมู่เลือดของผู้ให้กับผู้รับไม่ตรงกัน ไตจึงทำงานไม่ได้ ต่อมาจึงเริ่มเรียนรู้ว่าอวัยวะที่จะทำงานได้ดีและนานที่สุดมักมาจากการปลูกถ่ายระหว่างคนที่มีเนื้อเยื่อที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด


%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A3.%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2588%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%259F%2B%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%258C


ความรู้นี้นำไปสู่จุดพลิกผันที่สำคัญอีกจุดหนึ่งของวงการปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งก็คือเมื่อแพทย์ผ่าตัดที่ชื่อ ดร.โจเซฟ เมอร์เรย์ และได้ทำการปลูกถ่ายไตจากคนสู่คนสำเร็จครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954 ในคู่แฝดเหมือนที่โรงพยาบาลบริกแฮม เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ทีมของ ดร.เมอร์เรย์ ได้ทำการศึกษาต่อยอด จนกระทั่งสามารถทำการปลูกถ่ายไตในคนไข้ที่ไม่ได้เป็นญาติกันได้สำเร็จ โดยใช้ยากดภูมิ (ยาสเตรียรอยด์ร่วมกับเอซาไธโอพรีน หรือ Azathioprine)ในปี ค.ศ. 1962 ทำให้การค้นพบครั้งนี้ถือว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่มหาศาลของวงการแพทย์และทำให้ดร.โจเซฟ เมอร์เรย์ ได้รับรางวัลโนเบล ในปี ค.ศ.1990 ด้านสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในเวลาต่อมา

%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A3.%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%2588%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%258B%25E0%25B8%259F%2B%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%258C%2B3


ในปัจจุบันการรักษาโรคไตได้มีการพัฒนาการไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาฉีดกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงเพื่อรักษาภาวะซีดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การพัฒนายาที่ใช้รักษาความผิดปกติของกระดูกในโรคไตเรื้อรังและการฟอกเลือดหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นการฟอกไตทางเส้นเลือดหรือผ่านทางผนังหน้าท้องและยากดภูมิใหม่ ๆ ที่ใช้ในการปลูกถ่ายไตเพื่อทำให้อวัยวะนั้นอยู่ได้อย่างยืนยาวกว่า

ในประเทศไทยได้พัฒนาการดูแลรักษารักษาโรคไตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การป้องกันโรค รณรงค์ลดเค็ม การใช้ยาใหม่ๆเพื่อชะลอไตเสื่อม ยากระตุ้นเม็ดเลือด การบำบัดทดแทนไตหรือแม้กระทั่งการปลูกถ่ายไต รวมทั้งเพิ่มการเข้าถึงการบริการและการเบิกจ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ กองทุนประกันสังคม และกรมบัญชีกลางสำหรับสิทธิข้าราชการ สิทธิการรักษายังครอบคลุมถึงผู้ป่วยติดเชื้อ เอชไอวี หรือโควิด-19 ที่มีภาวะไตวาย รวมถีงการปลูกถ่ายหัวใจและตับอีกด้วย


%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%259D%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2588%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2596%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25952


ความรู้ทางโรคไตและการปลูกถ่ายยังคงมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆในขณะนี้มีการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมายที่หากทำสำเร็จ จะนับเป็นก้าวสำคัญสู่การบุกเบิกทางการแพทย์ยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตอวัยวะไตเทียมขนาดเล็กที่มีเนื้อเยื่อคล้ายไต สามารถพกพาติดตัวผู้ป่วยได้หรือการทำการปลูกถ่ายอวัยวะจากสัตว์สู่คน เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนผู้บริจาคอวัยวะ ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของการศึกษาและพัฒนาที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ก็เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยโรคไตนั่นเอง

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages