จากการที่เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดเสวนาเรื่อง“ลดโซเดียมห่างไกลโรค NCDs” ทำให้เราได้พบกับประเด็นปัญหาสำคัญ คือ คนไทยบริโภคโซเดียมเกินความจำเป็นและมาตรฐานที่กำหนดไว้ 2,000 มิลลิกรัมในแต่ละวัน
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า ด้วยปริมาณโซเดียมมีอยู่ในองค์ประกอบของอาหารแทบทุกอย่างมากน้อยแตกต่างกันไป ยังมีโซเดียมที่เกิดจากการใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ผสมในอาหารหรือใช้ถนอมอาหาร หรือจากโซเดียมแฝงในเครื่องปรุงรสหรือส่วนผสมของอาหาร เช่น ผงฟู (โซเดียมไบคาบอเนต) ในขนมปัง เป็นต้น ดังนั้นประเด็นสำคัญคือการทำอย่างไรให้ประชาชนทุกเพศทุกวัย หันมาสนใจลดการกินโซเดียม(รสชาติเค็ม) เพื่อสุขภาพที่ดีของไตและร่างกาย โดยยังคงความสมดุล ทั้งความชื่นชอบในรสชาติเพื่อสุขภาพที่ดีของไตและร่างกาย สำหรับในมุมมองของภาครัฐนั้น พยายามที่จะออกนโยบายที่เหมาะสมช่วยประชาชน โดยใช้หลักฐานทางวิชาการและข้อมูลการให้บริการรักษาพยาบาลจริงและประสบการณ์ที่เคยได้ดำเนินการนโยบายใกล้เคียงมาเป็นแหล่งอ้างอิง โดยได้รับความร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงาน เช่น กรมสรรพสามิต เป็นต้น
ด้านนายณัฐกร อุเทนสุตที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ปัจจุบันกรมสรรพสามิตมีทั้งมาตรการภาษี และมาตรการที่มิใช่ภาษี เพื่อช่วยปรับลิ้นประชาชน จากการติดรสชาติและการบริโภคที่เกินความจำเป็น กลไกทางภาษีจะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนตื่นรู้และตระหนักสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิต ผลิตสินค้าที่มีโซเดียมลดลงออกมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้ผลิตอาหารในประเทศจะได้เปรียบในการขายสินค้าในประเทศ ด้วยสินค้านอกประเทศจะถูกนำเข้ามาได้ยากขึ้น เพราะการปรับสูตรให้เฉพาะคนไทยมีข้อจำกัด
ด้าน นพ.กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กล่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขถือเป็นหน่วยงานหลักที่จำเป็นต้องมีบทบาทในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ด้วยสถานการณ์ของโรค NCDs ในปัจจุบันมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงเป็นอันดับ 1 หรือกว่า 75% และผู้ป่วยแต่ละรายจะต้องเสียงบประมาณในการรักษาสูงกว่าหลายล้านบาททุกปี ดังนั้นมาตรการสำคัญ คือการช่วยปรับลิ้นประชาชนให้ไวต่อการรับรสชาติเค็มมากขึ้น ซึ่งลิ้นเป็นเครื่องตัววัดรสชาติโดยทางธรรมชาติ หากรับรสชาติใดเป็นเวลานาน ก็จะชินกับปริมาณความเข้มข้นของรสชาตินั้น ทำให้ความไวต่อการรับรสชาตินั้นลดลง (ต้องเพิ่มระดับความเข้มมากขึ้น ถึงจะรับรสได้) ดังนั้นหากติดรสชาติเค็มแล้ว จึงมีพฤติกรรมกินเค็มมากขึ้นเรื่อย ๆ ปริมาณโซเดียมสูงขึ้นตามลำดับ) ส่งผลต่อการทำงานของไตแน่นอน ซึ่งจากข้อมูลวิจัยพบว่า เราสามารถปรับลิ้นให้รับรสชาติเค็มให้ไวขึ้น โดยการลดปริมาณโซเดียมลง 10% (จากการปรุงอาหารเองหรือเลือกซื้อจากอาหารปรุงสำเร็จหรือผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ) ที่เคยรับประทานอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ซึ่งจะเห็นผลชัดเจนภายใน 21 วัน (หรือ 3 สัปดาห์) การที่ประชาชนจะสามารถควบคุมปริมาณโซเดียมได้จะเกิดจากการรับรู้ปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้ระบุไว้ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการออกฉลากโภชนาการมีการระบุปริมาณโซเดียมและสารอาหารอื่น ๆ ที่ชัดเจน รวมทั้งแสดงโลโก้สัญลักษณ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพให้เป็นทางเลือกกับประชาชนด้วย
ในมุมมองธุรกิจการผลิตอาหาร นั้นสำคัญที่ต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงต้นทุนในการถนอมอาหารให้มีอายุยาวนาน ก่อนถึงมือผู้บริโภค ดังนั้นการใช้โซเดียมในอาหารจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก การดูข้อมูลปริมาณโซเดียมก่อนเลือกซื้อและสร้างสมดุลปริมาณสารอาหารในแต่ละวันจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ประชาชนควรตระหนักให้มาก หากประชาชนให้ความร่วมมือมีความตระหนักในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ก็อาจจะบรรลุเป้าหมายในการลดการบริโภคโซเดียมและโรคติดต่อไม่เรื้อรังได้ร้อยละ 25-30 ภายใน 2 ปีนี้
ด้าน นพ.กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กล่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขถือเป็นหน่วยงานหลักที่จำเป็นต้องมีบทบาทในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ด้วยสถานการณ์ของโรค NCDs ในปัจจุบันมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงเป็นอันดับ 1 หรือกว่า 75% และผู้ป่วยแต่ละรายจะต้องเสียงบประมาณในการรักษาสูงกว่าหลายล้านบาททุกปี ดังนั้นมาตรการสำคัญ คือการช่วยปรับลิ้นประชาชนให้ไวต่อการรับรสชาติเค็มมากขึ้น ซึ่งลิ้นเป็นเครื่องตัววัดรสชาติโดยทางธรรมชาติ หากรับรสชาติใดเป็นเวลานาน ก็จะชินกับปริมาณความเข้มข้นของรสชาตินั้น ทำให้ความไวต่อการรับรสชาตินั้นลดลง (ต้องเพิ่มระดับความเข้มมากขึ้น ถึงจะรับรสได้) ดังนั้นหากติดรสชาติเค็มแล้ว จึงมีพฤติกรรมกินเค็มมากขึ้นเรื่อย ๆ ปริมาณโซเดียมสูงขึ้นตามลำดับ) ส่งผลต่อการทำงานของไตแน่นอน ซึ่งจากข้อมูลวิจัยพบว่า เราสามารถปรับลิ้นให้รับรสชาติเค็มให้ไวขึ้น โดยการลดปริมาณโซเดียมลง 10% (จากการปรุงอาหารเองหรือเลือกซื้อจากอาหารปรุงสำเร็จหรือผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ) ที่เคยรับประทานอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ซึ่งจะเห็นผลชัดเจนภายใน 21 วัน (หรือ 3 สัปดาห์) การที่ประชาชนจะสามารถควบคุมปริมาณโซเดียมได้จะเกิดจากการรับรู้ปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้ระบุไว้ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการออกฉลากโภชนาการมีการระบุปริมาณโซเดียมและสารอาหารอื่น ๆ ที่ชัดเจน รวมทั้งแสดงโลโก้สัญลักษณ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพให้เป็นทางเลือกกับประชาชนด้วย
ด้านนายพล ตัณฑเสถียร เชฟชื่อดังและเจ้าของเพจช่อง YOUTUBE : PHOLFOODMAFIA กล่าวว่าความตระหนักของประชาชนเองควรเปลี่ยนความคิดจากการทานอาหารที่ยึดติดกับรสชาติความอร่อย เปลี่ยนเป็นทานอาหารเพื่อบำรุงร่างกาย ทานอย่างมีสติ บริหารจัดการสารอาหารให้พอดีในแต่ละวัน การบำรุงร่างกายดีกว่าการมาซ่อมแซมร่างกายเมื่อป่วยแล้ว ทางเลือกที่ 1 การทำอาหารกินเองที่บ้าน จะช่วยให้เราทำความเข้าใจส่วนประกอบและปริมาณที่ใช้ในการปรุงอาหาร สามารถคิดหาวัตถุดิบอื่นช่วยหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องปรุงที่มีปริมาณโซเดียม ที่ได้รสชาติใกล้เคียงกันได้ ยิ่งต้องทำอาหารให้กับกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุยิ่งต้องระวังการกินอาหารเป็นพิเศษ สิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมการปรับพฤติกรรมเวลาทานอาหารนอกบ้านด้วย ทางเลือกที่ 2 การทานอาหารนอกบ้าน ควรศึกษา (Education) ฉลากโภชนาการ สัญลักษณ์สุขภาพต่าง ๆ ที่ภาครัฐจัดทำไว้ให้ หากเป็นร้านก็ควรหมั่นสังเกตการประกอบอาหารของร้านก่อนสั่งอาหาร หรือแจ้งเลยว่า “ไม่เค็ม” ที่สำคัญ คือ การมีสติรับรู้และพอเพียงต่อความต้องการตนเอง (Balance) ในแต่ละวัน
ในมุมมองธุรกิจการผลิตอาหาร นั้นสำคัญที่ต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงต้นทุนในการถนอมอาหารให้มีอายุยาวนาน ก่อนถึงมือผู้บริโภค ดังนั้นการใช้โซเดียมในอาหารจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก การดูข้อมูลปริมาณโซเดียมก่อนเลือกซื้อและสร้างสมดุลปริมาณสารอาหารในแต่ละวันจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ประชาชนควรตระหนักให้มาก หากประชาชนให้ความร่วมมือมีความตระหนักในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ก็อาจจะบรรลุเป้าหมายในการลดการบริโภคโซเดียมและโรคติดต่อไม่เรื้อรังได้ร้อยละ 25-30 ภายใน 2 ปีนี้
No comments:
Post a Comment