ชูต้นเเบบกุ้งก้ามกราม ระบบเเปลงใหญ่ ขึ้นเเท่น GAP - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Thursday, July 18, 2019

ชูต้นเเบบกุ้งก้ามกราม ระบบเเปลงใหญ่ ขึ้นเเท่น GAP



ปัจจุบันจังหวัดกาฬสินธุ์ถือเป็นเเหล่งผลิตกุ้งก้ามกรามแห่งใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีต้นทุนแหล่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมาตั้งเเต่ปี 2520 จึงเปรียบดังอาณาจักรกุ้งก้ามกรามเเห่งภาคตะวันออก เเละด้วยการผลิตสินค้าประมงมีการเเข่งขันสูง ทั้งในเเง่คุณภาพเเละปริมาณ ซึ่งนับวันต้นทุนทางการผลิตนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2560 กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้กำหนดให้สำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์เสนอพื้นที่เพิ่มเติมในการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเข้าสู่ระบบแบบแปลงใหญ่



โดย กรมประมงได้นำเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามตำบลลำคลอง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เข้าร่วม “โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่” ในปี 2560 ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 30 ราย และ ในปี 2561 ได้นำเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 รายปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการในระบบแปลงใหญ่ทั้ง 2 กลุ่ม รวม 80 ราย เนื้อที่รวม 688ไร่ ผลการดำเนินการในปี 2561 ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 187.55 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 203.88 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้น 8.71% ในขณะที่ ต้นทุนการเลี้ยงต่อกิโลกรัมลดลงจาก 137.61 บาท เหลือเพียง 126.20 บาท ลดลง 8.29%


นายวิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าปัจจุบันมีเกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มแปลงใหญ่ด้านการประมง ทั้งด้านการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด และด้านการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งรวมจำนวน 111 แปลง มีเกษตรกร ภายใต้โครงการฯ จำนวน6,171 ราย พื้นที่ประมาณ 59,000 ไร่ ซึ่งมีชนิดสัตว์น้ำที่หลากหลายตามความเหมาะสมของพื้นที่และศักยภาพของเกษตรกร อาทิ ปลานิล ปลาตะเพียน ปลายี่สกเทศ ปลากะพงขาว ปลาดุก กบ ปลาหมอ ปลาแรด ปลาสลิด ปลาสวาย ปลาช่อน ปูทะเล กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล เป็นต้นโดยจำแนกเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ ปี 2559 จำนวน 11 แปลงกลุ่มแปลงใหญ่ ปี 2560 จำนวน 16 แปลงกลุ่มแปลงใหญ่ ปี 2561 จำนวน 50 แปลงและกลุ่มแปลงใหญ่ ปี 2562 จำนวน 34 แปลง ซึ่งกรมประมงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาแปลงใหญ่ด้านประมง ปี 2560 – 2564 ระยะเวลา 5 ปี มีเป้าหมายพัฒนาแปลงให้ได้จำนวน 300 แปลง




ตัวอย่างความสำเร็จของกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด เกษตรกรได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงกุ้งและการขายกุ้ง รวมทั้งมีการจัดหาปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์กุ้ง อาหารกุ้ง จำหน่ายแก่สมาชิก รวมทั้งมีการได้มีการเชื่อมโยงกับตลาดโดยตรง และจำหน่ายสินค้าภายใต้แบร์นแปลงใหญ่ พ่อค้าที่เข้ามารับซื้อจะต้องติดต่อซื้อขายผ่านกลุ่มเท่านั้น โดยกลุ่มจะทำตารางการเลี้ยงกุ้งของสมาชิกแต่ละราย เพื่อไม่ให้ผลผลิตออกในช่วงเดียวกันมากเกินไป และจะมีการจัดเรียงลำดับการจับกุ้งหมุนเวียนกันไปในแต่ละฟาร์มการบริหารจัดการด้วยวิธีนี้ พบว่าเกษตรกรได้รับราคาหน้าฟาร์มสูงขึ้น ขายกุ้งคละไซส์ได้ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 250 บาท ซึ่งจุดเด่นของกุ้งก้ามกรามกาฬสินธุ์คือ เนื้อแน่น รสหวาน ได้มาตรฐาน GAP หากใครอยากกินกุ้งก้ามกรามต้องมากินที่เนื้อแน่น รสหวานต้องมากินที่กาฒสินธุ์ เพราะจะมีทั้งปีในราคาที่จับต้องได้

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages