วช.จับมือทีมวิจัย ม.มหิดล สร้างต้นแบบเครื่องมือป้องกันการข่มขืน กระทำชำเราในครองครัว โรงเรียน ชุมชน เตรียมเสนอ พม. กระทรวงศึกษา กระทรวงมหาดไทยให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง พร้อมทำ แอพพลิเคชั่น เปิดช่องทางเหยื่อให้ข้อมูลเอาผิดอาชญากร - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, May 3, 2022

วช.จับมือทีมวิจัย ม.มหิดล สร้างต้นแบบเครื่องมือป้องกันการข่มขืน กระทำชำเราในครองครัว โรงเรียน ชุมชน เตรียมเสนอ พม. กระทรวงศึกษา กระทรวงมหาดไทยให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง พร้อมทำ แอพพลิเคชั่น เปิดช่องทางเหยื่อให้ข้อมูลเอาผิดอาชญากร

 163852


นางวิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)เปิดเผยว่าทางในการสัมมนาเสนอผลการศึกษาต้นแบบการสร้างเครื่องมือป้องกัน ปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ทางวช. ได้สนับสนุนการวิจัย การแก้ปัญหา ความรุนแรงในสังคมไทย เนื่องจากความรุนแรงในสังคมไทยเป็นปัญหาระดับประเทศ การลดความ รุนแรงเป็นโจทน์ที่ท้าทายการวิจัยที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและ ความเป็นอยู่ทางสังคมให้กับคนไทยอย่างมั่นคง และนำไปสู่การลด ปัญหาความรุนแรงอย่างยั่งยืน การข่มขืนกระทำชำเราเป็นหนึ่ง ตัวอย่างความรุนแรงและเป็นประเด็นทางสังคมที่ วช.เห็นว่าเป็น เรื่องที่ต้องหยิบยกมาแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน จึงได้ให้การ สนับสนุนเพื่อแก้ปัญหา


163860

ทั้งนี้วช. มุ่งหวังว่าแผนการวิจัยที่ได้ร่วมกันศึกษาจะได้นำผลสำเร็จ ป้องกันเหตุความรุนแรงให้ลดลงได้ โดยเฉพาะปัญหาการข่มขืนใน ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ตลอดจนการรับมืออย่างมี ประสิทธิภาพ รวมถึงการศึกษากฏหมายที่เกี่ยวข้องที่ต้องรับปรุงให้ ทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งศึกษากฏหมายต่าง ประเทศ เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการ เคารพในสิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

“ วช. จะช่วยผลักดันทุนวิจัยทางด้านความรุนแรงและการข่มขืน กระทำชำเราไปสู่ภาครัฐและเอกชนให้ได้รับรู้ข้องมูลของงานวิจัยให้ มีผลในทางปฏิบัติต่อไป ”


163844

ขณะที่รองศาสตราจารย์ ดร.สุณีย์ กัลยะจิตร ผู้จัดการแผนงาน กล่าวว่า จากการที่เข้าไปดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการละเมิดทางเพศ จากข้อมูล 2,450 แห่ง พบว่าปัญหาการถูกคลุกคามทางเพศเกิดจาก ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน จากการสอบถามข้อมูลโดยทั่วไป พบว่า ปัญหาหลักที่ทำให้เกิดการละเมิดทางเพศมาจาก สามกลุ่มนี้เป็น หลัก ปัญหาที่เกิดขึ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำความเข้าใจกับ กลุ่มที่ล่อแหลมที่จะถูกละเมิดทางเพศ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ขณะนี้พยายามให้ข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ โรงเรียนที่ต้องทำความเข้าใจกับเด็กในการระมัดระวังตัวมากขึ้น เช่นการสัมผัสร่างกายว่าส่วนไหนที่แตะต้องได้และส่วนไหนแตะไม่ ได้อันจะนำไปสู่การถูกละเมิดทางเพศ

อย่างไรก็ตามผลสืบเนื่องจากการทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลดังกล่าว เด็กโตในชั้นมัธยมตอนต้นมีความเข้าใจมากขึ้น เด็กระวังตัวมากขึ้น นอกจากนี้ได้ให้คำแนะนำว่าหากมีปัญหาเกิดขึ้นเด็กต้องแจ้งให้ใคร ทราบ เพื่อแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ในส่วนของโรงเรียนครูต้องให้ ความรู้กับเด็ก ทำความเข้าใจ ยอมรับความเป็นจริงว่าบางส่วนการ ถูกล่วงละเมิดเกิดขึ้นที่โรงเรียน ต้องหาแนวทางป้องกันให้ถูกวิธี เพราะการย้ายสถานศึกษาหลังถูกล่วงละเมิดไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ ถูกต้อง


163889

ส่วนชุมชนต้องทำให้มีความปลอดภัยที่มีไฟส่องสว่างคนในชุมชน ต้องร่วมมือร่วมใจ ดูแลคนในชุมชนให้มีความปลอดภัยด้วยเช่นกัน ทีมวิจัยนอกจากจะมีการวิจัยแนวทางแก้ปัญหาการล่วงละเมิดทาง เพศแล้วยังนำเสนอแก้ไขกฏหมายเอาผิดผู้กระทำให้รุนแรงมากขึ้น ตั้งแต่การทำอนาจาร ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นผู้บังคับใช้ กฏหมายก็ต้องเข้มงวดในการใช้กฏหมายอย่างจริงจังเชื่อว่าหากทุก ฝ่ายร่วมมือกัน จะทำให้การล่วงละเมิดลดลง

ผลสรุปของงานวิจัยจะนำเสนอกระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กระทรวง ศึกษาธิการ เพื่อเผยแพร่อันนำไปสู่การป้องกันตัว ให้มีผลในทาง ปฏิบัติอย่างแท้จริง อีกทั้งได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น ที่ประชาชนเข้าถึง ข้อมูลแนวทางการป้องกันการล่วงละเมิดได้สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งผู้ที่ ถูกล่วงละเมิดสามารถร้องเรียนปัญหา การแสดงความเห็นต่าง ๆ


163967

ด้านนางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิ ปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามูล นิธิฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนการล่วงละเมิดทางเพศ โดยเฉลี่ยปีละ 10,000 กรณี ยกตัวอย่าง กรณีล่วงละเมิดทางเพศเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา ผู้ ถูกล่วงละเมิดทางเพศอายุต่ำสุด 10 เดือน แต่อย่างไรก็ตาม จาก สถิติช่วงอายุที่ข่มขืนมากที่สุดอันดับ 1 คืิออายุ 10-15 ปี อันดับ 2 คืออายุ 15 -20 ปี และอันดับ 3 อายุ 5 -10 ปี

"สถานการณ์ในขณะนี้อันตรายมากเนื่องจากเด็กและผู้ที่มีอายุน้อย ถูกข่มขืนมากขึ้น และในทุกกรณีที่มูลนิธิเข้าไปช่วยเหลือผู้ถูกล่วง ละเมิดจะถูกกระทำจากบุคคลในครอบครัวและผู้ใกล้ชิด จะเห็นได้ว่า เด็กไม่มีความปลอดภัยแม้จะอยู่อาศัยกับบุคคลในครอบครัว อีกทั้ง ถูกกระทำในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไปซื้อ ขนม หรือห้องน้ำในโรงเรียน"นางปวีณากล่าว

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages