depa“ดีป้า” เผยอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าโตต่อเนื่อง ชี้ผู้ประกอบการประยุกต์ใช้พัฒนาสินค้า-บริการมากขึ้น - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Friday, December 10, 2021

depa“ดีป้า” เผยอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าโตต่อเนื่อง ชี้ผู้ประกอบการประยุกต์ใช้พัฒนาสินค้า-บริการมากขึ้น

.com/img/a/

9 ธันวาคม 2564, กรุงเทพมหานคร - ดีป้า เผยผลสํารวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า ปี 2563 ชี้ภาพรวมอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 3.99 โดยมี COVID-19 เป็นตัวเร่งให้พฤติกรรมผู้ใช้บริการบิ๊กดาต้าใน การใช้งานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ขณะที่ผู้พัฒนาและผลิตเทคโนโลยีต้องปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มการ ให้บริการบิ๊กดาต้าบนคลาวน์เพิ่มขึ้น ขณะที่คาดการณ์แนวโน้ม 3 ปี อุตสาหกรรมจะยังคงเติบโตต่อเนื่องในปี 2564- 2565 โดยผู้ประกอบการเริ่มให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการ และเพิ่มการรักษาความปลอดภัยให้กับดาต้า หลัง ‘พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล’ จะมีผลบังคับใช้ในปี 2565 จากนั้นแนวโน้มการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมจะ เริ่มทรงตัวในปี 2566 เพราะมีการจัดเตรียมโครงการบิ๊กดาต้าในหลายภาคส่วนช่วงปีที่ผ่านมา


.com/img/a/

สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมกับ บริษัท แอทไวส คอนซัลติ้ง จํากัด เผยผลสํารวจ ข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า ประจําปี 2563 และคาดการณ์แนวโน้ม 3 ปี โดยครอบคลุม มูลค่าอุตสาหกรรมตามประเภทเทคโนโลยี ผู้ประกอบการ และกลุ่มอุตสาหกรรม



.com/img/a/


อุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าขยายตัวต่อเนื่อง ควบคู่กับการให้บริการบนคลาวด์


.com/img/a/

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อํานวยการใหญ่ ดีป้า เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า ปี2563 ขยายตัวร้อยละ 3.99 จากปีก่อน มีมูลค่าอุตสาหกรรมอยู่ที่ 13,703 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าจากตลาด ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 1,610 ล้านบาท ตลาดซอฟต์แวร์ (Software) 4,176 ล้านบาท งานบริการด้านไอทีและ ธุรกิจ (IT/Business Service) 7,917 ล้านบาท ซึ่งอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าจะยังคงเติบโตต่อเนื่องไปพร้อมกับการ ให้บริการบนคลาวด์


.com/img/a/

“สถานการณก์ารแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19)ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้ใช้บริการ บิ๊กดาต้าในการใช้งานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ผู้ให้บริการจําเป็นต้องมีการจัดเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในปริมาณมาก และสามารถนําข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและปรับใช้ได้ทันท่วงที ด้วยเหตุนี้จึงทําให้ผู้พัฒนาและผลิตเทคโนโลยี (Technology Vendor) ต้องปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มการให้บริการบิ๊กดาต้าบนคลาวน์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตลาด ซอฟต์แวร์ และงานบริการยังคงเติบโตต่อเนื่อง เพราะยังมีการนําข้อมูลเข้ามาผ่านการประมวลผล เพื่อนําไปใช้งาน ต่อไป” ผู้อํานวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว



.com/img/a/


คาดการณ์แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า 3 ปีจากนี้


.com/img/a/

ดีป้า ประเมินว่า อุตสาหกรรมบิ๊กดาต้ามีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 0.19 และ 0.08 โดยมีมูลค่าอุตสาหกรรมอยู่ที่ 13,728 ล้านบาท และ 13,738 ล้านบาทในปี 2564 และ 2565 ตามลําดับ โดยผู้ประกอบการจะเริ่มให้ ความสําคัญกับการบริหารจัดการ และเพิ่มการรักษาความปลอดภัยให้กับดาต้า หลัง ‘พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วน บุคคล’ (Personal Data Protection Act: PDPA) จะมีผลบังคับใช้ในปี 2565 จากนั้นแนวโน้มการขยายตัวของ ภาคอุตสาหกรรมจะเริ่มทรงตัวในปี 2566 เนื่องจากช่วงปีที่ผ่านมามีการจัดเตรียมโครงการบิ๊กดาต้าในหลายภาค ส่วน ซง่ึ คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตจะหดตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.00 และมีมูลค่าอุตสาหกรรมอยู่ที่ 13,474 ล้านบาท


 

.com/img/a/


“ผลสํารวจแสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการนําเทคโนโลยีบิ๊กดาต้ามาประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา สินค้าและบริการมากขึ้น แม้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่บิ๊กดาต้ายังเปิดโอกาสให้หลายอุตสาหกรรมเติบโต ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการเงินและการประกันภัย อุตสาหกรรมค้าส่งและค้าปลีก อุตสาหกรรมการผลิต ทั้งหมวด สินค้าอุปโภคและบริโภค อุตสาหกรรมการขนส่ง และภาคการศึกษา รวมถึงการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ จากภาครัฐในการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และนําข้อมูลไปใช้ พร้อมกันนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มี แนวโน้มหันมาใช้เทคโนโลยีบิ๊กดาต้าในการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่ง การทํางานจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อทํางานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น อาทิ AI, IoT, Machine Learning และ 5G เพ่ือยกระดับประสบการณ์ผู้บริโภคพัฒนา
ผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม”่ ผู้อํานวยการใหญ่ดีป้ากล่าว



.com/img/a/

ทั้งนี้ ดีป้า หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลสํารวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า ประจําปี 2563 และคาดการณ์แนวโน้ม 3 ปีจะเป็นประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ตัดสินใจวางแผนธุรกิจ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่เห็นบทสรุป และสามารถใช้เป็นข้อมูล ประกอบการกําหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลของรัฐบาลในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 13 ต่อไป

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages