ในภาวะปัจจุบันการบริหารจัดการเรื่องฝุ่นPM 2.5 เป็นปัญหามลภาวะเป็นพิษในระดับประเทศ ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหาทางสังคมไม่ด้อยไปกว่าการสูบบุหรี่หรือสูบบุหรี่ไฟฟ้าเลย ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ โดยเฉพาะมีผู้ป่วยป่วยเป็นภาวะโรคทางปอดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นโรคปอดติดเชื้อ ไอเรื้อรัง หอบหืดหรือมะเร็งปอด พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นและส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโรคปอดต้องได้รับการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดปอด มักเกิดความวิตกกังวลว่าจะหายใจได้มั้ย ปอดจะสร้างใหม่ได้หรือไม่และแผลที่ผ่าตัดจะเจ็บมากมั้ย ซึ่งในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดปอดสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้แผลมีขนาดเล็กมากและสามารถลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดอีกต่อไป โดยก้อนในปอดหรือจุดที่ปอดเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยจากการตรวจเช็คสุขภาพร่างกาย เนื่องจากปอดมีเนื้อที่ขนาดใหญ่ ดังนั้นเวลาเกิดจุดเล็ก ๆ หรือใหญ่ขึ้นมา ผู้ป่วยมักจะไม่มีการแสดงอาการ โดยจุดที่ปอดนั้นอาจเป็นได้ทั้งเนื้องอกชนิดที่ไม่เป็นมะเร็งและเป็นมะเร็งปอด หรือโรค วัณโรค ซึ่งหลักการพิจารณาผ่าตัดปอดเป็นหนึ่งในการรักษาและสามารถวินิจฉัยโรคได้ โดยการผ่าตัดปอด ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดก้อนออกโดยการดมยาสลบ โดยวิธีการผ่าตัดปอดนั้นจะตัดออกแค่ก้อนหรือทั้งกลีบ ขึ้นกับชนิดของก้อนเนื้อและตัวโรคตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
ความเสี่ยงของการผ่าตัดปอดเมื่อผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดปอดคำถามที่ถูกถามเสมอคือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการผ่าตัดโดยความเชื่อที่ว่าหลังจากผ่าแล้วจะจะหายใจได้หรือไม่ สาเหตุเนื่องจากปอดเป็นอวัยวะสำคัญหลักที่ทำหน้าที่หายใจ โดยปอดประกอบด้วยถุงลมปริมาณหลายล้านถุงลม การที่เราตัดปอดบางส่วนมักไม่มีผลกระทบต่อการหายใจ แต่อย่างไรก็ตามก่อนผ่าตัดทุกครั้งควรต้องมีการประเมินสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test) เพื่อทดสอบว่าเราสามารถทนการตัดปอดได้มากน้อยขนาดไหนสำหรับภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ภาวะเลือดออกจากแผลผ่าตัด การติดเชื้อของแผลผ่าตัดและความเสี่ยงจากการดมยาสลบนั้นพบได้น้อยมาก โดยอัตราการเกิดไม่ต่างจากการผ่าตัดด้วยการดมยาสลบชนิดอื่น ๆ และการเตรียมผู้ป่วยโดยการตรวจร่างกายและสุขภาพก่อนเข้ารับการผ่าตัดจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้
ภายหลังการผ่าตัด ทำไมจึงควรงดกิจกรรมเดินทางด้วยเครื่องบินหรือกิจกรรมดำน้ำลึก ทั้งนี้เนื่องจากการผ่าตัดปอด มักจะมีร่องรอยแผลบริเวณผิวของปอดได้ การที่เราขึ้นเครื่องบินหรือดำน้ำลึก จะมีผลต่อความดันในช่องอก ทำให้อาจเกิดรอยปลิบริเวณผิวที่ได้รับการผ่าตัดปอด ดังนั้น เราควรหลีกเลี่ยงการขึ้นเครื่องบินหรือดำน้ำลึกเป็นเวลา 1 เดือนหลังจาก
การผ่าตัดปอด
ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวถึงการพัฒนาของเทคนิคการผ่าตัดปอดปัจจุบันว่า การผ่าตัดนั้นมีหลากหลายแบบ ถึงแม้หลักการจะคล้าย ๆ กัน แต่อุปกรณ์ที่ใช้หรือเทคนิคในการผ่าตัดมีความแตกต่างกัน การผ่าตัดแบบเปิดมักจะใช้เครื่องขนาดที่มือจับได้ มีบาดแผลขนาดใหญ่ ต้องใช้เครื่องไปถ่างขยายแผลบริเวณซี่โครงเพื่อเข้าไปทำการผ่าตัดปอด แต่การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ศัลยแพทย์จะมีแต่เครื่องมือที่ใส่เข้าไประหว่างช่องซี่โครงแทนขอบเขตการให้บริการการผ่าตัดผ่านกล้องหรือที่เรียกว่า Video assisted thoracoscopic surgery (VATS)
ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ถึงแม้การผ่าตัดส่องกล้องปอดค่อนข้างมีความหลากหลาย เทคนิคเริ่มตั้งแต่การผ่าตัดแบบ 3-4 จุด จนมาถึงปัจจุบันที่มีการทำผ่าตัดส่องกล้องปอดโดยเทคโนโลยีขั้นสูงแบบจุดเดียว หรือที่เรียกว่า Uniportal video assisted thoracoscopic surgery คือการผ่าตัดผ่านกล้อง ขนาด 3.5 เซนติเมตรแบบจุดเดียว โดยอุปกรณ์ทั้งหมดจะเข้าไปอยู่ในช่องเดียวและมองผ่านทางจอวีดีทัศน์ขณะทำการผ่าตัด โดยเป้าหมายนี้ทำเพื่อหลีกเลี่ยงการเจาะผ่านหลายจุดและทำลายเนื้อเยื่อร่างกายให้น้อยที่สุด ซึ่งจะให้ผู้ป่วยไม่ต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน สำหรับผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัดปอดหรือพบเจอก้อนที่ปอด สนใจสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่เพจเฟซบุ๊ก “ผ่าตัดปอด” โดยนายแพทย์ศิระ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ line id : @lungsurgeryth หรือเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ที่ https://siradoctorlung.com
No comments:
Post a Comment