เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 ณ อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก ตำบลบางศรีเมือง นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานวัฒนธรรมสองฝั่งเจ้าพระยามหาเจษฎาบดินทร์ ประจำปี 2566 โดยมี นายวินัย วรวัตร์ วัฒนธรรมจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดงานในครั้งนี้
จังหวัดนนทบุรี ถือเป็นจังหวัดที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับการพัฒนาและเจริญเติบโตเป็นหัวเมืองสำคัญ โดยเฉพาะรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเป็นนิวาสสถานเดิมของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนี ในรัชกาลที่ ๓ นอกจากนี้ ยังเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทำให้มีการคมนาคมที่สะดวก รวดเร็ว ทั้งทางบก และทางน้ำ
มีความโดดเด่นของบ้านเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ มีความหลากหลายทั้งด้านวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ที่รวบรวมเชื้อชาติและวัฒนธรรม ประกอบด้วย คนไทยพื้นถิ่น คนไทยเชื้อสายจีน คนไทยเชื้อสายรามัญ และคนไทยเชื้อสายมุสลิม ซึ่งถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา จังหวัดนนทบุรีได้กำหนดแผนพัฒนาจังหวัดสู่การเป็น “เมืองน่าอยู่” (Livable City) คือ การเป็น “เมืองสังคมน่าอยู่ เมืองเศรษฐกิจก้าวหน้า และเมืองการพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยมีนโยบายในการพัฒนาและการจัดการจังหวัดให้เป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีการเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และท้องถิ่น ไปสู่การท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ
นอกจากนี้ ยังมีแผนการดำเนินงานในการฟื้นคืนเศรษฐกิจของจังหวัด ภายหลังจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จังหวัดนนทบุรีได้บูรณาการร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี หน่วยงานภาครัฐ ในจังหวัดนนทบุรี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคเอกชน และภาคประชาชนในจังหวัด นนทบุรีจัดงานวัฒนธรรมสองฝั่งเจ้าพระยา มหาเจษฎาบดินทร์ ประจำปีพุทธศักราช2566 ขึ้น ระหว่างวันที่30 มีนาคม ถึง วันที่ 3 เมษายน 2566 ณ อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษกตำบลบางศรีเมือง และบริเวณท่านำเมืองนนท์ อำเภอเมืองนนทบุรีจังหวัดนนทบุรี
ภายใต้แนวคิด “วิถีน้ำ วิถีนนท์ ยลสายชล สองฝั่งเจ้าพระยา สักการะมหาเจษฎาบดินทร์” เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมสำนึก ในพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ที่ทรงมีต่อปวงชน ชาวจังหวัดนนทบุรี และชาวไทย และเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในจังหวัด โดยการนำทุนทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นมาส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้ แก่จังหวัดและประเทศ โดยกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การออกร้านและการจัดแสดงวิถีชีวิตของคน หลากหลายเชื้อชาติ และวัฒนธรรมในจังหวัดนนทบุรี แบ่งออกเป็นสถานีต่างๆ จำนวน 12 สถานี ได้แก่ สถานีลานวัฒนธรรมสองฝั่งเจ้าพระยา โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี และสภา วัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี, สถานีกาชาดและชมรมแม่บ้านมหาดไทย โดยกาชาดจังหวัดนนทบุรี, สถานีเมืองจำลองท้องถิ่นนนทบุรีโดยเทศบาลเมืองบางศรีเมือง , สถานีตลาดย้อนยุค โดยเทศบาล นครปากเกร็ด , สถานีท้องถิ่นนนทบุรีโดยเทศบาลเมืองบางกรวย , สถานีธนาคารชุมชน โดยคลัง จังหวัดนนทบุรี, สถานี OTOP ของดีเมืองนนทบุรีโดยพัฒนาการจังหวัดนนทบุรี, สถานีลาน เกษตร โดยเกษตรจังหวัดนนทบุรี, สถานี Street Art โดยท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนนทบุรี, สถานีเรือนนนท์โดยเรือนจำจังหวัดนนทบุรี, สถานีพลังงาน โดยพลังงานจังหวัดนนทบุรี โรงไฟฟ้า พระนครเหนือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และสถานีท่านน้ำเมืองนนท์ โดยเทศบาลนครนนทบุรี นอกจากนี้ ยังมีการตกแต่งประดับประดาอุโมงค์ไฟ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
การจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ การแสดงแสง สี เสียง เทิดพระเกียรติ การแสดงดนตรีโดยศิลปินแห่งชาติ และนักเรียนจากสถานศึกษาในจังหวัดนนทบุรี การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม อาทิ โขน หุ่นละครเล็ก การออกร้านจำหน่ายสินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม และของดีของเด่นจังหวัดนนทบุรี
No comments:
Post a Comment