กรุงเทพฯ – 3 เมษายน 2566, เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) ภายใต้เครือบริษัท เอ็นทีที เดต้า คอร์ปอเรชัน จำกัด ผู้นำด้านธุรกิจดิจิทัลและบริการไอทีชั้นนำระดับโลก ชี้ระบบสินเชื่อมีโอกาสเติบโตสูง โดยเฉพาะสินเชื่อดิจิทัล (Digital Loan) ที่นับเป็นดาวรุ่งแห่งธุรกิจ ช่วยปลดล็อคภาคครัวเรือนไทยเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายขึ้น หลังหนี้ครัวเรือนในประเทศพุ่งภายหลังวิกฤตโควิด แนะผู้ประกอบการแก้โจทย์ใหญ่ 5 ด้าน ชิงส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อเพิ่มอำนาจการแข่งขัน พร้อมชูบริการ Lending Platform ปรับปรุงกระบวนการทำงานในการให้บริการสินเชื่อทั้งระบบนิเวศอย่างครบวงจร ผสานการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มอื่นแบบไร้รอยต่อ ช่วยลดความซับซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารหนี้
ทั้งนี้ สินเชื่อดิจิทัล (Digital Loan) จึงกลายเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสินเชื่อมีโอกาสเข้าถึงภาคครัวเรือนไทยได้มากขึ้น แต่ก็มีโจทย์สำคัญที่ผู้ประกอบการให้บริการสินเชื่อจะต้องให้ความสำคัญ 5 ด้าน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดได้แก่ 1) พัฒนาทั้ง Ecosystem ให้มีความพร้อมเพื่อให้ได้ข้อมูลลูกค้าที่สมบูรณ์มากที่สุด สามารถนำไปประเมินความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงจูงใจให้ชำระหนี้ 2) การทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าไปพร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบคุณสมบัติผู้กู้ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบตัวตน 3) การติดตามหนี้ (Debt Collection) ที่มีประสิทธิภาพบนต้นทุนที่สมเหตุสมผล 4) เตรียมพร้อมการรับมือที่เข้มข้นในตลาด และ 5) ความปลอดภัยและโปร่งใสบนกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเช่น พ.ร.บข้อมูลส่วนบุคคล
เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการสินเชื่อ ด้วยบริการ Lending Platform ระบบEcosystem สำหรับธุรกิจสินเชื่อ ที่ครอบคลุมการทำ Digital Onboarding, Loan Original และการทำ Loan Management ได้แบบ end-to-end ตั้งแต่การให้คำปรึกษา การวางกลยุทธ์เพื่อวางแผนเลือกใช้โครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม และการติดตั้งหรือการวางระบบ ตลอดจนบริการดูแลตลอดการใช้งานสำหรับบริการด้าน Application (On-going support) จากการถอดประสบการณ์ให้บริการด้าน Payment & Loyalty Mechanism มากกว่า 10 ปี เพื่อช่วยพัฒนาระบบนิเวศครอบคลุมการทำงานระหว่างธุรกิจบนความปลอดภัยและแม่นยำสูงสำหรับกลุ่มลูกค้าการเงินและการธนาคาร
นายปรภต กล่าวต่อว่า บริการ Lending Platform จะช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยจะช่วยลดความซับซ้อนในขั้นตอนการทำงานลง และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารหนี้ได้ ครอบคลุมขั้นตอนการให้บริการสินเชื่อแบบครบวงจรตั้งแต่
§ Digital Onboarding ขั้นตอนการลงทะเบียนหรือสมัครสมาชิกใหม่ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยไม่ต้องกรอกใบสมัครหลายขั้นตอน เน้นการลดใช้กระดาษ โดยใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกท์ และการตรวจสอบข้อมูลออนไลน์กับหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น การใช้ e-Statement การเชื่อมระบบ e-KYC ที่ครอบคลุมถึงการตรวจสอบข้อมูลกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (Department Of Provincial Administration) และ ใช้ AI ในการตรวจสอบเปรียบเทียบใบหน้า เพื่อช่วยในการระบุตัวตนและตรวจสอบผู้ขอสินเชื่อ เพื่อป้องกันการฉ้อโกงตั้งแต่ขั้นตอนการลงทะเบียน รวมถึงระบบ e-Sign ที่จะช่วยให้ขั้นตอนการทำงานรวดเร็วขึ้น
§ Loan Origination System ขั้นตอนการวิเคราะห์และประเมินคุณสมบัติผู้ขออนุมัติสินเชื่อ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลประวัติเครดิต ที่เชื่อมต่อกับระบบของข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (National Credit Bureau) ช่วยตรวจสอบและลดความเสี่ยงในการเกิดหนี้เสียในอนาคต โดยระบบสามารถรองรับการกำหนดเงื่อนไขและข้อกำหนดในการพิจาณาสินเชื่อได้
§ Loan Management System ระบบจัดการสินเชื่อที่ครอบคลุมตั้งแต่การคำนวณวงเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าบริการต่างๆ ไปถึงการโอนเงินสินเชื่อให้แก่ลูกค้า และการออกเอกสารใบแจ้งหนี้ การรับชำระหนี้ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การเชื่อมระบบของธนาคารผ่าน API เพื่อรองรับการชำระเงินผ่านแอพพลิเคชั่น
§ Loan Collection ระบบติดตามหนี้เพื่อสนับสนุนการทำงานของฝ่ายติดตามทวงหนี้ โดยระบบจะแสดงรายงานแดชบอร์ด แจ้งเตือนในกรณีที่ลูกค้าเกิดการชำระเงินล่าช้า หรือลูกค้าเกิดการค้างชำระ เพื่อให้ฝ่ายติดตามทวงหนี้สามารถติดตามและทวงถามได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ระบบ Lending Platform เป็นระบบ Ecosystem สำหรับสินเชื่อ ที่สามารถเลือกติดตั้งได้หลายรูปแบบ ทั้งบนคลาวด์ส่วนตัว หรือผู้ให้บริการคลาวด์ ทั้งยังสมารถติดตั้งบนอุปกรณ์เซิฟเวอร์ขององค์กร (On-Premise) ช่วยให้การทำงานของธุรกิจสินเชื่อง่ายขึ้น แม่นยำและปลอดภัยยิ่งขึ้น ทั้งด้านการประเมินอนุมัติสินเชื่อ การคำนวณ และติดตามแผนการชำระหนี้ ทั้งยังสามารถผสานการทำงานกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ผ่านระบบ API รองรับการปรับเปลี่ยนได้ในระยะยาว สนับสนุนให้ธุรกิจหมดห่วงในกระบวนการทำงาน สามารถต่อยอดธุกิจสอดคล้องกับการแข่งขันในตลาดที่เข้มข้น
No comments:
Post a Comment