SUPER จับมือเทศบาลนคร นครศรีฯ ลุยโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน20MW - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Wednesday, March 17, 2021

SUPER จับมือเทศบาลนคร นครศรีฯ ลุยโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน20MW

%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%2BSUPER%2B-%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%2B%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25AF%2B%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%259F%25E0%25B8%259F%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%259920MW


SUPER จับมือเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช กำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์ และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ.จำนวน 16 เมกะวัตต์ บิ๊กบอส “จอมทรัพย์ โลจายะ” ระบุช่วยหนุนผลประกอบการของบริษัทฯเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เพราะสามารถผลิตและสร้างรายได้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง คาดจะมีรายได้จากโครงการราว 500 – 600 ล้านบาทต่อปี

นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SUPER) เปิดเผยว่า บริษัท กรีน พาวเวอร์ เอนเนอร์จี จากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SUPER ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการการบริหารจัดการขยะมูลฝอย " จังหวัดสะอาด” กับเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช โครงการโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงจากขยะชุมชนที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดกำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์ เดินเครื่องจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) 16 เมกะวัตต์ ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ. ) ซึงจะช่วยผลักดันรายได้ของบริษัทฯเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากเป็นโครงการที่สามารถดำเนินการผลิตและสร้างรายได้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ โครงการโรงไฟฟ้าจากขยะ จังหวัดนครศรีฯ เป็นโครงการที่ติดตั้งระบบเผากำจัดขยะและผลิตไฟฟ้า จากขยะสด 350 ตัน/วัน และขยะเก่าในบ่อขยะจำนวน 650 ตัน มาเผากำจัดและผลิตไฟฟ้าขาย ในอัตรารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) 3.66 บาท สัญญา 20 ปี รวมทั้งได้รับค่ากำจัดขยะจากเทศบาลจังหวัดนครฯ อีก 350 บาทต่อตัน ซึ่งหลังจากลงนามใน MOU นี้แล้วจะได้มีการวางแผนงานและดำเนินการในเรื่องใบอนุญาตต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยคาดว่าเมื่อดำเนินการผลิตบริษัทจะมีรายได้จากโครงการกว่า 500 – 600 ล้านบาทต่อปี ผลตอบแทนการลงทุนมากกว่า 7 – 8 %

โดย SUPER จะลงทุนทั้งระบบโรงไฟฟ้าและระบบคัดแยกขยะเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิง ส่วนเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จะเป็นผู้จัดส่งขยะจำนวน 1,000 ตัน แบ่งเป็นขยะใหม่ 350 ตัน /วัน และขยะเก่าอีก 650 ตัน/วัน จากบ่อขยะของเทศบาลมานำส่งหน้าโรงไฟฟ้า

"โครงการโรงไฟฟ้าขยะ จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นโครงการแห่งที่ 2 ที่ได้มีการลงนามสัญญาลักษณะโครงการร่วมทุนเพื่อบริหารจัดการขยะมูลฝอย จากก่อนหน้าที่ลงนามโครงการโรงฟ้าจากขยะ จ.นนทบุรี ผมเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นอีกหนึ่งในการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับบริษัทฯนอกเหนือโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่บริษัทมี และยังส่งผลต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานของบริษัทฯในอนาคตตามกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น"นายจอมทรัพย์ กล่าว

ปัจจุบัน SUPER มีโรงไฟฟ้าขยะที่ดำเนินการแล้ว 2 แห่ง และอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ 4 แห่ง รวม 6 แห่ง ปริมาณไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟรวม 64 เมกะวัตต์ โดยเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะของบริษัทย่อยของ SUPER จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์(COD) ให้กับให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 2 โครงการ ปริมาณการซื้อขายไฟตามสัญญารวม 18.0 เมกกะวัตต์ นอกจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา คาดว่าจะทยอย COD ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ( 2564 -2566 ) อีกด้วย

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages