วช. จับมือ จ.ศรีสะเกษ และเครือข่ายวิจัยภูมิภาคฯ จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” มุ่งพัฒนาทุเรียนภูเขาไฟด้วยวิจัยและนวัตกรรม - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Monday, June 26, 2023

วช. จับมือ จ.ศรีสะเกษ และเครือข่ายวิจัยภูมิภาคฯ จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” มุ่งพัฒนาทุเรียนภูเขาไฟด้วยวิจัยและนวัตกรรม

 

วันที่ 24 มิถุนายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ จังหวัดศรีสะเกษ เครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมให้กับชุมชน โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน ซึ่งมี นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ คุณปาลลิน พวงมี ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร แห่งกรมส่งเสริมการเกษตร ศ.ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ รองประธานเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พร้อมด้วย ผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ และเกษตรกรในพื้นที่ ให้การต้อนรับ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ





ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. มีภารกิจสำคัญในการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน นับเป็นงานที่สําคัญของ วช. ที่ได้ร่วมกับเครือข่ายวิจัยภูมิภาคทั้ง 4 ภูมิภาค ในการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นตามนโยบายรัฐบาล เมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้ วช. เชื่อมโยง บูรณาการความร่วมมือในการจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยชุมชน” ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการให้ชุมชน สังคม ได้เข้าถึงงานวิจัย ได้นําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้และเชื่อมโยงในการพัฒนาการประกอบอาชีพ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ช่วงเวลาที่ผ่านมา เครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนไปแล้ว 11 แห่ง และในครั้งนี้เป็นการเปิดตัวศูนย์วิจัยชุมชนแห่งที่ 12 ได้แก่ ศูนย์วิจัยชุมชน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ทุเรียนภูเขาไฟเป็นหลัก จะเป็นประโยชน์กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการขนาดย่อม ในการได้รับองค์ความรู้จากวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม รวมทั้งการสร้างบุคลากรในพื้นที่เพื่อทําหน้าที่เป็นวิทยากร และผู้ชํานาญการงานบริการวิชาการแก่ศูนย์วิจัยชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้เข้าถึงงานวิจัย นําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกับชุมชน สามารถพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ให้ชุมชนเข้มแข็งและเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน




นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษ มีความยินดีที่ได้รับเกียรติจาก วช. และ เครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกจังหวัดศรีสะเกษในการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” ถือเป็นศูนย์วิจัยชุมชนแห่งที่ 12 ของเครือข่ายวิจัยฯ โดยทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ เริ่มมีการปลูกอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ. 2531 และได้ผลผลิตครั้งแรก ในปี พ.ศ.2537 จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่สามารถปลูกทุเรียนได้ผลดี โดยเฉพาะพื้นที่อําเภอกันทรลักษ์ และอําเภอขุนหาญ ที่มีทุเรียนติดอันดับความนิยมของประเทศ อันเป็นผลมาจากการปลูกในพื้นที่ภูเขาไฟโบราณที่มีธาตุอาหารสําคัญ สภาพภูมิอากาศไม่ชื้น ทำให้เนื้อทุเรียนแห้งพอดี นุ่มเหนียว เส้นใยละเอียด มีกลิ่นหอมเฉพาะ ไม่ฉุนมาก รสชาติมันค่อนข้างหวาน ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค จนถูกเรียกว่า “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ”




คุณปาลลิน พวงมี ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร แห่งกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร มีบทบาทในการนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ ในภาพรวมของการปลูกทุเรียนในประเทศ ประมาณ 1,300,000 ไร่ นอกจากภาคตะวันออกและภาคใต้ จังหวัดศรีสะเกษถือเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุด กว่า 20,000 ไร่ แต่ถ้านับเรื่องคุณภาพของทุเรียนของจังหวัดศรีสะเกษถือเป็นที่หนึ่งในประเทศ มากกว่าทุเรียนจากภาคตะวันออกและภาคใต้ กรมส่งเสริมการเกษตรมีความมุ่งมั่นในการพัฒนามาตรฐานของทุเรียน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ




ศ.ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ รองประธานเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า วช. ได้มอบหมายให้ เครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดําเนินกิจกรรมการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน เพื่อส่งเสริมการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ แก้ปัญหาของชุมชน หรือเพิ่มศักยภาพรายได้ของชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งสร้างบุคลากรในชุมชนให้มีความรู้ สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนหรือพื้นที่นั้น ๆ ในปัจจุบันเครือข่ายวิจัยภูมิภาค: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนแล้ว จํานวน 11 แห่งในจังหวัดต่าง ๆ ของภูมิภาค การจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ทเุรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” ในครั้งนี้ เป็นการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนแห่งที่ 12 ซึ่งทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษถือเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สําคัญของจังหวัด สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ได้





รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ร่วมกับ วช. และเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “ เรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนได้เข้าถึงงานวิจัย นําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกับชุมชนในการพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ให้ชุมชนเข้มแข็งและเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป





สำหรับทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษจัดเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สําคัญของจังหวัดศรีสะเกษ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและผลิตภัณฑม์วลรวม (GDP) ของจังหวัด อีกทั้งจังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่สามารถปลูกทุเรียนได้ผลดี จังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ปลูกทุเรียน 15,110 ไร่ เกษตรกรรวม 2,350 ครัวเรือน ให้ผลผลิตแล้ว 5,750 ไร่ (คิดเป็น 38%) ยังไม่ให้ผลผลิต 9,360 ไร่ (คิดเป็น 62%) ปลูกในพื้นที่ภูเขาไฟโบราณแถบเทือกเขาพนมดงรัก มีดินชนิดหินบะซอลต์เป็นดินเหนียวสีแดง มีคุณสมบัติระบายน้ำได้ดีและมีธาตุอาหารที่สําคัญ คือ ฟอสฟอรัสสูง เอื้อประโยชน์ให้เนื้อทุเรียนแห้งพอดี นุ่มเหนียว เส้นใยละเอียด มีกลิ่นหอมเฉพาะไม่ฉุนมาก รสชาติมันค่อนข้างหวาน โดยปลูกในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุนหาญ และอำเภอศรีรัตนะ รวม 5,596 ไร่ (คิดเป็น 98%) ของผลผลิตทุเรียนทั้งหมดของจังหวัดศรีสะเกษ เกษตรกรนิยม ปลูกพันธุ์หมอนทอง ชะนี และก้านยาว และจังหวัดศรีสะเกษได้ทําการจดบันทึกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษเป็นทุเรียนที่อัตลักษณ์เฉพาะ คือ “เนื้อทุเรียนเหนียวนุ่ม กรอบนอกนุ่มใน เส้นใยละเอียด กลิ่นหอมละเมียด เมล็ดลบี เปลือกบาง” เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างมาก

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages