กุญแจไขความสำเร็จ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม อ.แม่จริม จ.น่าน นำไปสู่รางวัลเลิศรัฐ - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Wednesday, September 27, 2023

กุญแจไขความสำเร็จ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม อ.แม่จริม จ.น่าน นำไปสู่รางวัลเลิศรัฐ

 4-4b4734f9c5ead07f1%5B1%5D


โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม ครอบคลุมชุมชน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านนาหมัน บ้านตอง บ้านตองเจริญราษฎร์ บ้านบอน บ้านฝาย และบ้านก้อ มีประชากรรวมกันทั้งสิ้น 2,325 คน 587 ครัวเรือน เป็นชาติพันธุ์ไทยพื้นเมือง ตั้งอยู่ในหุบเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 300-400 เมตร พื้นที่ทั้งหมด 74,494.9 ไร่ ประชาชนในพื้นที่ยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาทิ นาข้าว ข้าวไร่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง และยางพารา ในพื้นที่เกษตรกรรรม 20,186 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพด 9,711.33 ไร่ คิดเป็น 48% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด มีการใช้สารเคมีสูง และพื้นที่เสื่อมโทรม มีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า และขาดน้ำสำหรับการทำการเกษตร เกิดหนี้สินมากและขาดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง

1.%20%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%8C%20%E0%B8%9C%E0%B8%AD.%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87

นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง หรือ สวพส. กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการพัฒนาพื้นที่ มาจากชุมชนตำบลแม่จริม โดยคณะกรรมการการพัฒนาหมู่บ้านตอง บ้านตองเจริญราษฎร์ บ้านนาหมัน ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จริม อ.แม่จริม จ.น่าน ทำหนังสือถึงประธานมูลนิธิโครงการหลวงเพื่อขอรับการสนับสนุนเป็นพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง และ สวพส. ได้เข้าดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 จนถึงปัจจุบัน โดยมีรูปแบบ ขั้นตอน วิธีการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย 1. หลักการทำงานของโครงการหลวง คือ การวิจัยเพื่อเอาผลไปให้ชาวเขาได้ใช้ประโยชน์และเป็นไปตามความต้องการของตลาด การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหลาย ๆ ชนิด และการสำรวจ การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยง ส่งเสริมให้เกิดการพึ่งพาตนเอง คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และการเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

9%20(4)

ร่วมทั้ง การสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้นำเกษตรกร หน่วยงานในพื้นที่ และหน่วยงานภายนอก ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ สวพส.ร่วมลงมือปฏิบัติกับผู้นำอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างความเชื่อมั่น สร้างการยอมรับและเชื่อถือกับชุมชน โดยยึดตามแนวทางแผนพัฒนาด้านงานวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง แผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง แผนบูรณาการระดับจังหวัดน่าน และการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยมีการนัดหมายพบปะผ่านการประชุม และร่วมกิจกรรมในระดับกลุ่มศูนย์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสะเนียน (สะเนียน โป่งคำ แม่จริม) ระดับจังหวัดน่าน 11 โครงการ แลกเปลี่ยนผ่านเวทีผู้นำเกษตรกรพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่แบบโครงการหลวง โครงการพัฒนาพื้นที่สูงเพื่อแก้ปัญหาปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน รวมทั้งหมดจำนวน 550 ราย ผ่านกิจกรรมงาน KM DAY ที่นับว่าเป็นการสรุปบทเรียนบทบาทผู้นำเกษตรกร สร้างพลังใจ พลังความคิด และทักษะให้กับผู้นำเกษตกร กล่าวคือ “หัวใจสำคัญของการพัฒนาพื้นที่สูง คือ การพัฒนาบนฐานความรู้ที่เหมาะสม โดยมีการใช้ผู้นำเป็นหลัก และความร่วมมือของทุกฝ่าย



8%20(5)

จนกระทั่งชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี จากพื้นที่ปลูกข้าวโพดจำนวน 677 แปลง 9,711.33 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 48.18 ของพื้นที่รายแปลงทั้งหมด เปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเหลือเพียง จำนวน 179 แปลง 2,645.68 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.24 หรือมีสัดส่วนการลดลง 7,065.65 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 20.94

11%20(3)

เกิดผลผลิต ให้ผลลัพธ์ที่ดี สามารถเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวนา ปลูกพืชตระกูลถั่วได้ดี ข้าวพอเพียงต่อการบริโภคตลอดทั้งปี ทั้ง 6 ชุมชน ผลผลิตสามารถส่งจำหน่ายตลาดชุมชน ห้างแมคโคร เกษตรกรได้รับการส่งเสริมมีหนี้สินลดลง ชุมชนมีการบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง และที่สำคัญส่งผลให้ปัญหาไฟป่าหมอกควันลดน้อยลง

2%20(7)

โดยสรุป ปัจจัยของความสำเร็จ ชุมชนตำบลแม่จริมมีผู้นำและชาวบ้านที่เห็นความสำคัญ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เกษตรกรรู้สึกภาคภูมิใจที่ไม่เผา ปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิม และเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ มีแปลงเรียนรู้ สามารถใช้เป็นจุดถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อขยายไปสู่เกษตรกรรายอื่นๆ เพิ่มขึ้น และหน่วยงานร่วมบูรณาการ ขณะเดียวกัน สวพส. มีเจ้าหน้าที่ประจำในพื้นที่ มีความใกล้ชิดกับเกษตรกร เข้าถึงง่าย สามารถดูแลให้คำปรึกษา แนะนำ ส่งเสริมองค์ความรู้แบบโครงการหลวง เพื่อเป็นทางเลือกด้านเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages