วันที่ 7 มิถุนายน 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมเปิดบ้านชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 และแถลงผลสำเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House 2024 ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการรับข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม และกรอบการวิจัยและนวัตกรรมที่ วช. ให้การสนับสนุนทุนการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงาน ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 อาคาร วช.1
จากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร มีทั้งโอกาสและความท้าทาย วิจัยและนวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการยกระดับผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่า โดย วช. มีเป้าหมายและกรอบการวิจัย ที่มุ่งเน้นโจทย์การวิจัยที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร ส่งเสริมการขยายตัวความร่วมมือ พัฒนาศักยภาพภาคการผลิต เกษตรกรเข้าถึงข้อมูล พัฒนาตลาดสินค้าเกษตร เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
พ.ศ. 2566 – 2570 วช. มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทาย และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม โดยปี 2568 วช. มีแผนงานวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ที่เน้นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบุคลากร สร้างผลกระทบระยะยาวในด้านเศรษฐกิจ ชุมชน และเครือข่าย นอกจากนี้ วช. ยังได้ให้ความสำคัญกับการต่อยอดและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความยั่งยืนและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจและการเกษตร ครอบคลุมทั้งมิติวิชาการ ชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่ และเชิงพาณิชย์ โดยมี ตัวอย่างผลสำเร็จ อาทิ การพัฒนาต้นแบบ เสนอแนะเชิงนโยบาย สร้างองค์ความรู้ เพิ่มมาตรฐาน รายได้ และการสร้างอาชีพในภาคการเกษตร ส่วนการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และการนำผลผลิตทางการเกษตรมาสร้างนวัตกรรม และในเชิงนโยบาย วช. จะผลักดันการนำงานทางด้านเศรษฐกิจและการเกษตรมาวางทิศทางกลยุทธ์และการจัดทำแผนการทำตลาด ส่งเสริม และการมองเป้าหมายในเชิงของการวางห่วงโซ่คุณค่าสินค้าที่มองทั้งระบบ อีกด้วย
-กลุ่มเรื่องที่ 1 กลุ่มเรื่อง “การวิจัยและนวัตกรรมด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรมูลค่าสูง” โดย รศ. ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต
-กลุ่มที่ 2 กลุ่มเรื่อง “การพัฒนากระบวนการผลิตแหล่งโปรตีนสัตว์” โดย ศ. เกียรติคุณ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์
-กลุ่มเรื่องที่ 3 กลุ่มเรื่อง “การยกระดับการผลิตพืชผักสู่เกษตรความปลอดภัย” โดย ศ. ดร.กมล เลิศรัตน์
-กลุ่มเรื่องที่ 4 กลุ่มเรื่อง “การผลิตไม้ผลเศรษฐกิจสู่มาตรฐานสากล” โดย รศ. ดร.พีรเดช ทองอำไพ
-กลุ่มเรื่องที่ 5 กลุ่มเรื่อง “ตีโจทย์วิจัยไม้ดอกไม้ประดับให้ได้ทุน” โดย นางสุนันทา สมพงษ์
ซึ่งการเสวนาครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ ระบุเป้าหมายที่ชัดเจน ทั้งกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการเขียนข้อเสนอ อีกทั้งมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม โดยผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านเข้าร่วมเสวนาและตอบข้อซักถามถึงหัวข้อเสวนาในวันนี้
ทั้งนี้ในช่วงบ่าย ยังมีกิจกรรมแนะนำการใช้งานระบบ “NRIIS” โดย นางสาวศยามน ไชยปุรณะ ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิเคราะห์ ประมวลผล และบูรณาการข้อมูลสารสนเทศ ที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่จะช่วยให้นักวิจัยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ในการติดตามความก้าวหน้าของงานวิจัยได้อย่างทันท่วงที
-รศ. ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร
-รศ. ดร.เริงชัย ตันสุชาติ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-ดร.บุญเฮียง พรมดอยกอย จาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
-รศ. ดร.ธิดา เดชฮวบ จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
No comments:
Post a Comment