1. สหกรณ์รูปแบบอิสลามห้ามเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยหรือ "ริบา" ไม่ว่ากรณีใด ๆ เพราะอิสลามถือว่าดอกเบี้ยเป็นส่วนหนึ่งของความไม่ยุติธรรมและเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น 2) สหกรณ์รูปแบบอิสลามห้ามเกี่ยวข้องกับธุรกิจต้องห้ามตามหลักศาสนา ได้แก่ การพนันหรืออบายมุข สุรา 3) สหกรณ์อิสลามโดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในด้านการทำธุรกิจการค้า (ติญารี) ดังนั้นเป้าหมายที่สำคัญคือการค้าขาย (ขายบวกกำไร) หรือการเป็นหุ้นส่วนกันทำธุรกิจหรือมุชารอกะห์ ให้เป็นไปตามหลักการอิสลามที่กำหนด 4) การทำสัญญาหรือการทำธุรกรรมในสหกรณ์รูปแบบอิสลามไม่ใช่เป็นสัญญาเงินกู้ แต่เป็นสัญญาซื้อขายในระบบสหกรณ์อิสลามที่ชัดเจนตายตัวตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงให้คำสัญญาระหว่างกันคือ ระหว่างสหกรณ์อิสลาม (ผู้ขาย) กับสมาชิกสหกรณ์ (ผู้ซื้อ) หากสมาชิกผิดสัญญาสหกรณ์อิสลามอาจจะนำหลักทรัพย์ค้ำประกันไปขายและนำเงินที่ขายมาหักหนี้ที่สมาชิกยังค้างอยู่ ส่วนที่เหลือจะคืนให้แก่สมาชิก 5) สหกรณ์รูปแบบอิสลามสามารถควบคุมระบบและป้องกันการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ เพราะสหกรณ์รูปแบบอิสลามไม่ได้ให้เครดิตเป็นตัวเงินออกไปให้กับสมาชิก แต่จะให้เป็นสิ่งของตามที่ต้องการ
6) กำไรที่เกิดขึ้นจากการประกอบการของสหกรณ์รูปแบบอิสลามจะถูกนำไปจ่ายเป็น ซะกาตตามข้อบัญญัติของศาสนาอิสลาม เพื่อนำไปใช้สำหรับสงเคราะห์สังคมตามหลักเกณฑ์ที่ศาสนาอิสลามกำหนด เช่น คนยากจน คนขัดสน คนมีหนี้สินล้นพ้นตัว และสาธารณกุศลต่าง ๆ
จากการเสวนาและรับฟังความคิดเห็นรวมถึงปัญหาและอุปสรรค จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานของสหกรณ์อิสลาม มักประสบปัญหาการดำเนินงาน เนื่องจากไม่มีกฎหมายและระเบียบที่ชัดเจนในการกำกับดูแลของภาครัฐ เพราะสหกรณ์อิสลามไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นสหกรณ์ประเภทเฉพาะ อย่างไรก็ตามสันนิบาตสหกรณ์จะนำปัญหาข้อเสนอแนะทั้งหมดสรุปเพื่อหาแนวทางแก้ไขไม่ว่าจะเป็นไขกฎหมาย,ข้อบังคับเพื่อให้สอดคล้องตามรูปแบบเฉพาะของแต่ละสหกรณ์ซึ่งมีรูปแบบรวมถึงองค์ประกอบที่ต่างกันไม่ว่าจะเป็นธุรกิจและหลักการทางศาสนาและความเชื่อเช่นสหกรณ์อิสลาม เป็นต้น
No comments:
Post a Comment