ดันสหกรณ์เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจชุมชนและสังคม กรมส่งเสริมสหกรณ์ เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนโรดแมปการพัฒนาฯ - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Sunday, November 4, 2018

ดันสหกรณ์เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจชุมชนและสังคม กรมส่งเสริมสหกรณ์ เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนโรดแมปการพัฒนาฯ

กรมส่งเสริมสหกรณ์ เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนโรดแมปการพัฒนาสหกรณ์ ดันสหกรณ์เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจชุมชนและสังคม นำร่องระยะแรกสหกรณ์ในทั่วประเทศ 362 แห่ง พร้อมหนุนนวัตกรรมธุรกิจการเกษตรรูปแบบสมัยใหม่รองรับการตลาดที่ท้าทาย

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์กำลังเร่งขับเคลื่อนโรดแมป (Road Map) การพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นองค์กรหลักระดับอำเภอภายใต้นโนยบายเร่งด่วนของรัฐบาลให้เป็นผลสำเร็จโดยเร็ว ซึ่งรัฐบาลต้องการให้กลไกลสหกรณ์เป็นกำลังสำคัญของการยกระดับชีวิตวามเป็นอยู่ของประชาชนในทุกพื้นที่ให้ดีขึ้น

โดยในเดือนกันยายน 2561 ที่ผ่านมาได้เริ่มดำเนินการแล้วในระยะที่ 1 ในสหกรณ์จำนวน 362 แห่ง แบ่งตามศักยภาพสหกรณ์ได้ 4 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 เป็นสหกรณ์ที่มีศักยภาพการดำเนินธุรกิจรวบรวมและแปรรูปผลผลิตสูง จำนวน 24 แห่ง ประกอบด้วย ดำเนินธุรกิจรวบรวมพืชไร่ แบ่งเป็นข้าว 17 แห่ง ดำเนินการธุรกิจรวบรวมพืชสวน แบ่งเป็นยางพารา 1 แห้งปาล์มน้ำมัน 2 แห่ง ผลไม้ 3 แห่ง และดำเนินธุรกิจรวบรวมผลผลิตการเกษตรอื่น ๆ เช่น สินค้าประมง จำนวน 1 แห่ง

กลุ่มที่ 2 เป็นสหกรณ์ที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจรวบรวมและแปรรูปผลผลิตปานกลางจำนวน 32 แห่ง ประกอบด้วย ดำเนินธุรกิจรวบรวมพืชไร่ แบ่งเป็นข้าว 24 แห่ง มันสำปะหลัง 2 แห่ง ดำเนินการธุรกิจรวบรวมพืชสวน แบ่งเป็นยางพารา 2 แห้งปาล์มน้ำมัน 1 แห่ง ผลไม้ 1 แห่ง และดำเนินธุรกิจรวบรวมผลผลิตการเกษตรอื่น ๆ เช่น สินค้าประมง จำนวน 2 แห่ง

กลุ่มที่ 3 เป็นสหกรณ์ที่ต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพการรวบรวมผลผลิต จำนวน 172 แห่ง ประกอบด้วย ดำเนินธุรกิจรวบรวมพืชไร่ แบ่งเป็นข้าว 112 แห่ง มันสำปะหลัง 10 แห่ง ข้าวโพด 7 แห่ง ดำเนินการธุรกิจรวบรวมพืชสวน แบ่งเป็นยางพารา 9 แห่ง ปาล์มน้ำมัน 6 แห่ง ผลไม้ 20 แห่ง และดำเนินธุรกิจรวบรวม สินค้าประมง จำนวน 4 แห่ง และอื่น ๆ 4 แห่ง

กลุ่มที่ 4 เป็นสหกรณ์ที่ต้องได้รับการผลักดันให้ดำเนินธุรกิจรวบรวมและแปรรูปผลผลิตจำนวน 133 แห่ง ประกอบด้วย ดำเนินธุรกิจรวบรวมพืชไร่ แบ่งเป็นข้าว 72 แห่ง มันสำปะหลัง8 แห่ง ข้าวโพด 10 แห่ง อ้อย 5 แห่ง ดำเนินการธุรกิจรวบรวมพืชสวน แบ่งเป็นยางพารา 18 แห่ง ปาล์มน้ำมัน 5 แห่ง ผลไม้ 14 แห่ง และดำเนินธุรกิจรวบรวม สินค้าประมง จำนวน 1 แห่ง

สำหรับแนวทางการดำเนินงานขั้นต่อไป แต่ละสหกรณ์อยู่ระหว่างจัดแผนพัฒนาความเข้มแข็ง และแผนพัฒนาการดำเนินธุรกิจสหกรณ์จากการประเมินสถานการณ์-วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและกระบวนการจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมของฝ่ายบริหาร ฝ่ายจัดการ สมาชิกสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นกรมส่งเสริมสหกรณ์จะนำข้อมูลที่ได้มากกำหนดแนวทางการพัฒนาสหกรณ์ในลำดับต่อไป

รวมทั้งจัดทำแผนการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติพื้นฐานของสหกรณ์หลักระดับอำเภอ อาทิ สหกรณ์ประเภท 1. สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม หรือสหกรณ์ประมง 2. มีแผนดำเนินงานครอบคลุมทั้งอำเภอ 3. ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 4. ดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายและรวบรวมผลผลิต 5. สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80


รวมทั้งพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจตอบสนองความต้องการของสมาชิกทุกด้าน ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกไปจนถึงส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลาง (แม่ข่าย) รวบรวมผลผลิตทางการเกษตรในระดับอำเภอ

“รัฐบาลรัฐบาลมีนโยบายให้สหกรณ์การเกษตรเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคการเกษตร มีการรวมกลุ่มการผลิตในรูปแบบสหกรณ์เป็นรูปแบบการรวมกลุ่มภาคการผลิตที่เหมาะสม โดยรัฐบาลจะผลักดันให้สหกรณ์ดังกล่าวเป็นองค์กรหลักระดับอำเภอทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ สังคมของชุมชน พร้อมทั้งช่วยต่อยอดนโยบายของรัฐบาลในการดูแลและส่งเสริมความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแก่เกษตรกร การบริหารจัดการสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำโดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต” นายพิเชษฐ์ กล่าว

นายพิเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาสหกรณ์ในอนาคต จะมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งของสมาชิก พัฒนาศักยภาพบุคลากรของสหกรณ์ พัฒนาการบริหารจัดการและสร้างธรรมาภิบาลการกำกับและตรวจสอบ เพิ่มความสามารถการำเนินธุรกิจสหกรณ์ ส ร้างนวัตกรรมด้านธุรกิจการเกษตร พัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานการตลาดที่ท้าท้าย

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages