ไททา ชูนวัตเกษตร ช่วยเกษตรกร สร้างอนาคตเกษตรกรรมไทย - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Friday, November 30, 2018

ไททา ชูนวัตเกษตร ช่วยเกษตรกร สร้างอนาคตเกษตรกรรมไทย

สมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย หรือ ไททา ประกาศความร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และสื่อมวลชนไทย ตั้งเป้าพัฒนาเกษตรกร เพิ่มผลผลิตร้อยละ 30 ด้วยนวัตเกษตร สร้างอนาคตใหม่เกษตรกรรมไทย

ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับสองของโลก และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในฐานะประเทศชั้นนำด้านเกษตรกรรม ดร.เซียง ฮี ตัน ผู้อำนวยการบริหาร ครอปไลฟ์ เอเชีย กล่าวในงานเปิดตัวสมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย “เกษตรกรไทย มีบทบาทสำคัญต่อการผลิตอาหาร ให้สามารถเลี้ยงดูประชากรทั้งในและต่างประเทศ ส่งเป็นสินค้าออก สร้างรายได้กลับเข้าประเทศ มากกว่า 4 แสนล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายในปี 2020 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีประชากรสูงถึง 60 ล้านราย ครอปไลฟ์ ในฐานะองค์กรไม่แสวงผลกำไร ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น คือ การผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงดูประชากรที่เพิ่มมากขึ้น จึงพิจารณาเลือกประเทศไทยให้เป็น “ประเทศต้นแบบของการพัฒนาเกษตรกรรมสมัยใหม่” พร้อมที่จะให้การสนับสนุนและส่งเสริม เพื่อนำไปสู่การผลิตอาหารได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน”

ดร. วรณิกา นาควัชระ ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย หรือ ไททา เปิดเผยว่า “ไททา เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรด้านนวัตกรรมการเกษตรระดับโลก หนึ่งในสำนักงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของครอปไลฟ์ อินเตอร์เนชันแนล มีเป้าหมายหลักในการช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถผลิตผลิตผลทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อเป็นอาหารให้ประชากรโลก ด้วยนวัตเกษตรที่เหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินงานในประเทศไทยมาตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2561 โดยมีโครงการแรกที่ได้ดำเนินการคือ โครงการรักษ์ผึ้งชันโรง หรือ Protect Stingless Bee ภายใต้แนวคิด “เกษตรกรรม รักษ์โลก เพื่อคน สร้างชุมชน” อันเป็นหนึ่งในโครงการ “รักษ์แมลงผสมเกสร” ของครอปไลฟ์ อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งได้เริ่มโครงการในประเทศอินเดีย ไทย และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทย ได้จัดขึ้นในจังหวัด จันทบุรีซึ่งเป็นพื้นที่ๆ มีสวนผลไม้ในส่วนใหญ่ของพื้นที่ มีเกษตรกรเข้าร่วมมากกว่า 100 ราย สามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึงร้อยละ 23 และกำลังดำเนินการโครงการนี้ในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นพื้นที่ๆ มีสวนลิ้นจี่และลำไยมากที่สุดของประเทศ โดยจะรวบรวมเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งจากจังหวัดแพร่และน่านเข้าร่วมโครงการอีกด้วย

นวัตเกษตร หรือ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์พืชสมัยใหม่เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จะช่วย “รักษ์โลก” ให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ลดการใช้ทรัพยากรดินและน้ำอย่างสิ้นเปลือง รักษาสมดุลธรรมชาติ ขณะเดียวกัน ก็สามารถผลิตอาหาร “เพื่อคน” ได้อย่างเพียงพอ มีคุณภาพและปลอดภัย เตรียมพร้อมรองรับการเพิ่มของประชากรทั่วโลกในอนาคต รวมทั้ง สร้างรายได้ “เพื่อชุมชน” ของเกษตรกรไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

พื้นที่เกษตรกรรมของไทย 138 ล้านไร่ ปัจจุบัน หลายพื้นที่ เกษตรกร ยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ดินไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก เผชิญกับโรคแมลงและศัตรูพืช สิ่งเหล่านี้ สามารถจัดการได้ด้วยนวัตเกษตร โดยแผนการดำเนินงานระยะสั้น 2 ปี (2019-2020) ไททา จะมุ่งเน้นพัฒนาความรู้เกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตอย่างน้อย ร้อยละ 30 ใช้ทรัพยากรน้อยลงแต่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ใช้ต้นทุนน้อยลงแต่ได้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น ส่งเสริมเกษตรกรรุ่นใหม่สู่ภาคการเกษตร ในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งและพืชเศรษฐกิจ อาศัยความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโครงการหลวง และสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมทางด้านเกษตรกรรม

สมาคมฯ ยังได้รับความไว้วางใจจากกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตรให้เป็นหนึ่งในองค์กรที่ร่วมสนับสนุนความรู้ทางวิชาการและบุคคลากรในกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการฝึกอบรมและการเผยแพร่ความรู้สู่เกษตรกร

“ไททา พร้อมที่จะเดินหน้าสู่อนาคตแห่งเกษตรกรรมไทยไปกับทุกภาคส่วน ควบคู่กับการนำองค์ความรู้และนวัตเกษตรระดับโลกมาสนับสนุน เพื่อบรรลุเป้าหมายระดับโลก “สร้างความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร” และส่งเสริมยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ของไทยที่ว่า “เกษตรกรมั่นคง ภาคการเกษตรมั่งคั่ง ทรัพยากรการเกษตรยั่งยืน” ดร. วรณิกา กล่าวสรุป

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages