วช. และ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ยกระดับหัตถกรรมท้องถิ่นสู่ทุนวัฒนธรรม ด้วยวิจัยและนวัตกรรม - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Saturday, January 28, 2023

วช. และ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ยกระดับหัตถกรรมท้องถิ่นสู่ทุนวัฒนธรรม ด้วยวิจัยและนวัตกรรม








สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย คณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลสำเร็จจากกลไกววน. ในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์หัตกรรมท้องถิ่นในพื้นที่การดำเนินงาน “โครงการการยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในยุควิถีชีวิตใหม่ : KOYORI Project” โดยมี ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นหัวหน้าโครงการฯ ระหว่างวันที่ 27 - 28 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ณ สินค้าหัตถกรรมของกลุ่มเก๊ากล้วยล้านนา ต.ประตูป่า จ.ลำพูน, ศูนย์บริการคนพิการออทิสติกจังหวัดเชียงใหม่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ และกลุ่มทอผ้าไทลื้อ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน  

 


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ให้ความสำคัญต่อการวิจัยและนวัตกรรมโดยยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก : KOYORI Project สามารถผลักดันการนำเทคนิคและกระบวนการพัฒนาทักษะ เสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองรวมทั้งการใช้กระบวนการเฉพาะในการพัฒนาและเพิ่มทักษะเฉพาะกลุ่มดึงศักยภาพของผู้พิการออทิสติก ให้สามารถมีทักษะและพัฒนาการที่ดี เพื่อให้สามารถมีอาชีพของตนเอง นอกจากนี้ กลุ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ได้รับการส่งเสริมและสร้างกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารกิจการของกลุ่มหัตถกรรมพื้นเมือง เพื่อยกระดับมูลค่าของผลิตภัณฑ์หัตถกรรม พร้อมกับสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ ได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเข้ากับเทรนด์ของโลกในอนาคต

 















สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ประสบผลสำเร็จจากกระบวนการยกระดับการสร้างสรรค์ ที่วช. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานภายใต้โครงการ KOYORI Project ในครั้งนี้ ได้มีเป้าหมายในการติดตามพัฒนาการและการเพิ่มทักษะทางฝีมือ ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ โดยในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Aujaa' Craft จากศูนย์บริการคนพิการออทิสติกจังหวัดเชียงใหม่ สามารถส่งเสริมให้สมาชิกที่เป็นผู้พิการออทิสติกและผู้ปกครองสร้างรายได้จากทักษะการย้อมสีจากเส้นฝ้ายเพื่อใช้ในงานถัก ภายใต้แนวคิด “ความงามในความไม่สมบูรณ์”

 









นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ขะแจ๋หลงตู้ จากกลุ่มทอผ้าไทลื้อ บ้านธิลำพูน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ซึ่งลายขะแจ๋หลงตู้ได้รับการยอมรับจากกระทรวงวัฒนธรรมได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชุมชนขะแจ๋ กลไกของโครงการ KOYORI Project ได้นำเสน่ห์ของการสวมใส่ชุดของชาวไทลื้อ มาเป็นวิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้วยขั้นตอนที่เป็นพื้นฐานดั้งเดิมที่เรียบง่ายมีเสน่ห์ ในการเก็บ การห่อ การใส่ของใช้ต่าง ๆ ลงในผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบเป็นบรรจุภัณฑ์และเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำให้เสร็จสมบูรณ์ได้จากการนำสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของชุมชนมาใช้ โดยผลงานชุดนี้จะนำลวดลาย"ขะแจหลงตู้"ซึ่งได้รับการยอมรับจากกระทรวงวัฒนธรรมได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชุมชนเป็นลายหลักที่ใช้ในทุกชิ้นงาน





วช.มุ่งสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ในการพัฒนาทักษะและยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อนำอัตลักษณ์และภูมิปัญญา เข้าสู่กระบวนการสร้างสรรค์ที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับจากภายในประเทศและต่างประเทศ พร้อมเพิ่มการสร้างและพัฒนาผู้นำที่เป็นครูช่างของท้องถิ่น ให้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างความยั่งยืน ด้วยรูปแบบเฉพาะที่พัฒนาจากงานวิจัยและนวัตกรรมภายใต้ KOYORI Project โดยการดำเนินงานของ มทร.ล้านนา เชียงใหม่

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages