เกษตรกรในพื้นที่ได้มาอบรมการผลิตคุณภาพสูง ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้นำไปปฏิบัติได้ผลสำเร็จ สามารถฟื้นต้นทุเรียนจากรากเน่าโคนเน่า และต้นโทรม ทั้งต้นเล็กและต้นอายุหลายสิบปี ช่วยประหยัดปุ๋ย และสารเคมีเกษตร ได้อย่างมาก ทุเรียนไม่เป็นไส้ซึม มีคุณภาพที่ดี ได้ทุเรียนคุณภาพ (Prime Durian) จากต้นทุเรียนที่โทรมใบเล็ก ยอดทุเรียนแห้งเป็นก้านธูป บางแปลงมีโรครากเน่าโคนเน่า สามารถฟื้นต้นกลับมามีสุขภาพแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคและแมลงได้ด้วยตัวเอง ไม่กลับมาเป็นโรคซ้ำ กิ่งแต่ละกิ่งสามารถแตกยอดได้สามครั้งในหนึ่งปี จากระบบนิเวศของรากที่พึ่งพา (symbiosis) กับจุลินทรีย์ช่วยตรึงธาตุอาหาร เป็นผลให้สามารถลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเกษตรจากเดิมเหลือแค่ไม่เกินราคาฟางแห้งก้อนเดียว พร้อมกันนี้ได้ปรับเปลี่ยนระบบการให้น้ำกับต้นทุเรียนจากเดิมที่ให้น้ำตอนกลางคืนมาเป็นแบบ Basin Fertigation โดยแบ่งการให้น้ำออกเป็นสามช่วงในแต่ละวัน ช่วงเช้าก่อน 08.00 น. ให้น้ำเต็มความสามารถอุ้มน้ำของดิน (full soil capacity) พืชสามารถดึงน้ำและธาตุหลักและธาตุรองเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงได้ โดยไม่เกิดแสดงการขาดธาตุที่จำเป็น ช่วงที่สองเวลา 11.00-12.00 น. เป็นเวลาที่ทุเรียนและไม้ผลทั่วไปที่ปลูกในแปลงแบบไม่ยกร่องสวน มักหยุดการสังเคราะห์แสงและเป็นช่วงที่น้ำในระบบน้ำใต้ดินและระบบน้ำในแถบลุ่มน้ำมีน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุดในช่วงวัน จึงมีการให้น้ำช่วงนี้ตามน้ำขึ้นน้ำลงจากอิทธิพลของดวงจันทร์ เป็นช่วงที่ทำให้ทุเรียนสร้างกลิ่นหอมดอกไม้เฉพาะตัวออกมา ช่วงที่สามเวลา 13.00 น. และ 14.00 น. ช่วงนี้ในพื้นที่ปลูกแบบไม่ยกร่องสวนทุเรียนจะปิดปากใบเช่นกัน จึงทำการให้น้ำตามค่า vapor pressure deficit (VPD) ประมาณ 10-15 นาที จนทรงพุ่มมีค่า VPD ที่เหมาะสมและเริ่มสังเคราะห์แสง ต่อไปจนแสงสุดท้ายประมาณ 16.00 น. โดยภาพรวมทำให้ทุเรียนสามารถสังเคราะห์แสงได้นาน 6 - 8 ชั่วโมง (อาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่) พบว่าทุเรียนหมอนทองที่อายุ 120 หลังผสมเกสรแล้ว (หางแย้) มีน้ำหนักแห้งของเนื้อ (DM) เฉลี่ยร้อยละ 34 และเมื่ออายุ 140 วัน มีค่า DM เฉลี่ยร้อยละ 37 ปกติเก็บเกี่ยวที่ 150-160 วัน เนื้อทุเรียนหมอนทองและพันธุ์อื่น ๆ เนื้อแห้ง ไม่เป็นไส้ซึม เต่าเผา เนื้อที่เหนียวเนียนละเอียดเป็นครีมคล้ายชีทเค้ก เนื้อมีกลิ่นหอมดอกไม้เฉพาะตัว เส้นใยละลายน้ำได้ทั้งหมด เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างมาก ถือได้ว่าเป็นผลสำเร็จจากงานวิจัยการผลิตทุเรียนคุณภาพสูงเป็นทุเรียนที่สร้างอัตลักษณ์เฉพาะของอำเภอเบตง จังหวัดยะลา สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย สู่การผลิตเพื่อการส่งออกได้อย่างแท้จริง
เกษตรกรในพื้นที่ได้มาอบรมการผลิตคุณภาพสูง ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้นำไปปฏิบัติได้ผลสำเร็จ สามารถฟื้นต้นทุเรียนจากรากเน่าโคนเน่า และต้นโทรม ทั้งต้นเล็กและต้นอายุหลายสิบปี ช่วยประหยัดปุ๋ย และสารเคมีเกษตร ได้อย่างมาก ทุเรียนไม่เป็นไส้ซึม มีคุณภาพที่ดี ได้ทุเรียนคุณภาพ (Prime Durian) จากต้นทุเรียนที่โทรมใบเล็ก ยอดทุเรียนแห้งเป็นก้านธูป บางแปลงมีโรครากเน่าโคนเน่า สามารถฟื้นต้นกลับมามีสุขภาพแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคและแมลงได้ด้วยตัวเอง ไม่กลับมาเป็นโรคซ้ำ กิ่งแต่ละกิ่งสามารถแตกยอดได้สามครั้งในหนึ่งปี จากระบบนิเวศของรากที่พึ่งพา (symbiosis) กับจุลินทรีย์ช่วยตรึงธาตุอาหาร เป็นผลให้สามารถลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเกษตรจากเดิมเหลือแค่ไม่เกินราคาฟางแห้งก้อนเดียว พร้อมกันนี้ได้ปรับเปลี่ยนระบบการให้น้ำกับต้นทุเรียนจากเดิมที่ให้น้ำตอนกลางคืนมาเป็นแบบ Basin Fertigation โดยแบ่งการให้น้ำออกเป็นสามช่วงในแต่ละวัน ช่วงเช้าก่อน 08.00 น. ให้น้ำเต็มความสามารถอุ้มน้ำของดิน (full soil capacity) พืชสามารถดึงน้ำและธาตุหลักและธาตุรองเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงได้ โดยไม่เกิดแสดงการขาดธาตุที่จำเป็น ช่วงที่สองเวลา 11.00-12.00 น. เป็นเวลาที่ทุเรียนและไม้ผลทั่วไปที่ปลูกในแปลงแบบไม่ยกร่องสวน มักหยุดการสังเคราะห์แสงและเป็นช่วงที่น้ำในระบบน้ำใต้ดินและระบบน้ำในแถบลุ่มน้ำมีน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุดในช่วงวัน จึงมีการให้น้ำช่วงนี้ตามน้ำขึ้นน้ำลงจากอิทธิพลของดวงจันทร์ เป็นช่วงที่ทำให้ทุเรียนสร้างกลิ่นหอมดอกไม้เฉพาะตัวออกมา ช่วงที่สามเวลา 13.00 น. และ 14.00 น. ช่วงนี้ในพื้นที่ปลูกแบบไม่ยกร่องสวนทุเรียนจะปิดปากใบเช่นกัน จึงทำการให้น้ำตามค่า vapor pressure deficit (VPD) ประมาณ 10-15 นาที จนทรงพุ่มมีค่า VPD ที่เหมาะสมและเริ่มสังเคราะห์แสง ต่อไปจนแสงสุดท้ายประมาณ 16.00 น. โดยภาพรวมทำให้ทุเรียนสามารถสังเคราะห์แสงได้นาน 6 - 8 ชั่วโมง (อาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่) พบว่าทุเรียนหมอนทองที่อายุ 120 หลังผสมเกสรแล้ว (หางแย้) มีน้ำหนักแห้งของเนื้อ (DM) เฉลี่ยร้อยละ 34 และเมื่ออายุ 140 วัน มีค่า DM เฉลี่ยร้อยละ 37 ปกติเก็บเกี่ยวที่ 150-160 วัน เนื้อทุเรียนหมอนทองและพันธุ์อื่น ๆ เนื้อแห้ง ไม่เป็นไส้ซึม เต่าเผา เนื้อที่เหนียวเนียนละเอียดเป็นครีมคล้ายชีทเค้ก เนื้อมีกลิ่นหอมดอกไม้เฉพาะตัว เส้นใยละลายน้ำได้ทั้งหมด เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างมาก ถือได้ว่าเป็นผลสำเร็จจากงานวิจัยการผลิตทุเรียนคุณภาพสูงเป็นทุเรียนที่สร้างอัตลักษณ์เฉพาะของอำเภอเบตง จังหวัดยะลา สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย สู่การผลิตเพื่อการส่งออกได้อย่างแท้จริง
No comments:
Post a Comment