กรมศุลกากรชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กรณีการขายทอดตลาดนาฬิกาหรู - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, August 15, 2023

กรมศุลกากรชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กรณีการขายทอดตลาดนาฬิกาหรู

 8

วันก่อน (วันที่ 11 สิงหาคม 2566) เวลา 10.30 น. นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ตามที่กรมศุลกากรได้ดำเนินการขายทอดตลาดของกลางประเภทนาฬิกาหรู จำนวน 13 เรือน
เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ต่อมาพบว่านาฬิกาดังกล่าวเป็นของละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (ของปลอม)
กรมศุลกากรได้สืบสวนข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวแล้ว พบว่า นาฬิกาหรู จำนวน 13 เรือน เป็นนาฬิกาเรือนเดิมซึ่งกรมศุลกากรได้เก็บรักษาไว้ตั้งแต่วันที่มีการจับกุม โดยอ้างอิงจากหมายเลขกำกับของ (Serial No.)
โดยไม่ได้มีการสับเปลี่ยนนาฬิกาหรูดังกล่าวแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากขั้นตอนการตรวจสอบของกลางระหว่างตัวแทนสิทธิ และผู้ประสานงานของผู้จับกุมมีขั้นตอนที่เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนและสร้างความสับสนให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กรมศุลกากรจึงขอเรียงเหตุการณ์ตามลำดับเวลาก่อนหลัง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและภาคประชาชนรับทราบ ดังนี้

1) วันที่ 24 กรกฎาคม 2565 กรมศุลกากรได้ตรวจยึดนาฬิกาดังกล่าว และได้ประสานงานไปยังตัวแทนสิทธิในประเทศไทย เพื่อดำเนินการตรวจสอบของกลางในคดี คือ นาฬิกาหรู จำนวน 13 เรือน

2) วันที่ 17 สิงหาคม 2565 ตัวแทนสิทธิได้เข้าตรวจสอบของกลาง ณ กรมศุลกากร และต่อมา วันที่ 8 กันยายน 2565 ตัวแทนสิทธิได้แจ้งผลการตรวจสอบเป็นหนังสือต่อกรมศุลกากรว่า นาฬิกาหรูดังกล่าว เป็นของแท้

3) หน่วยงานผู้รับผิดชอบในการจำหน่ายของกลางของกรมศุลกากรได้ตรวจสอบเอกสารของ
แฟ้มคดีว่ามีความครบถ้วนถูกต้องแล้ว โดยยึดหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบจากตัวแทนสิทธิเมื่อวันที่
8 กันยายน 2565 เป็นเอกสารหลักฐาน และในวันที่ 18 เมษายน 2566 กรมศุลกากรได้อนุมัติให้มีการระงับคดี และดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการขออนุมัติจำหน่ายของกลาง โดยได้ทำการขายทอดตลาดนาฬิกาหรูดังกล่าว ในระหว่างวันที่ 5 – 7 กรกฎาคม 2566 ซึ่งผู้ประมูลได้มาติดต่อชำระเงินค่าของและรับมอบนาฬิกาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566

4) วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ผู้ประมูลได้มีความประสงค์ขอคืนของกลางที่ประมูลได้ และแจ้งว่านาฬิกาดังกล่าวเป็นของปลอม กรมศุลกากรจึงประสานตัวแทนสิทธิเพื่อตรวจสอบนาฬิกาที่จะคืนร่วมกัน
ที่เป็นนาฬิกาชุดเดียวกันกับที่ตรวจยึด และตัวแทนสิทธิได้ยืนยันเป็นหนังสือ ว่านาฬิกาดังกล่าวเป็นของละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (ของปลอม) กรมศุลกากรจึงยกเลิกการขายทอดตลาดนาฬิกาหรูแฟ้มคดีดังกล่าวแล้วพร้อมทั้งคืนเงินที่ชำระทั้งจำนวน หรือเงินมัดจำให้แก่ผู้ประมูลทั้งหมด

กรณีดังกล่าว กรมศุลกากรได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อหารือมาตรการบังคับตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กรณีตัวแทนสิทธิกระทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ และ/หรือบุคคลภายนอกผู้สุจริต เพื่อให้เจ้าของสิทธิหรือตัวแทนสิทธิได้ใช้ความระมัดระวัง
ในการดำเนินการตรวจสอบสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวในอนาคต

ศูนย์ประสานงานทรัพย์สินทางปัญญาได้ประสานตัวแทนของตัวแทนสิทธิในประเทศไทย
ได้ความว่าตัวแทนสิทธิมีความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจะใช้ความระมัดระวังเพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดในการประสานงานระหว่างตัวแทนสิทธิและกรมศุลกากรอีกในครั้งต่อไป

ด้านตัวแทนสิทธิที่เป็นบริษัทสำนักงานใหญ่ ประจำเมืองฮ่องกง มีหนังสือขอโทษต่อเหตุการณ์ดังกล่าวและสอบสวนข้อเท็จจริงภายในได้ความว่า ตัวแทนของบริษัทฯ ที่ประเทศไทยดำเนินการตรวจสอบความผิดพลาดพร้อมแจ้งทบทวนแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบว่า หากมีการตรวจสอบสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าที่มีความคล้ายคลึงกับสินค้าจริงมาก ตัวแทนสิทธิในประเทศไทยจะต้องประสานข้อมูลมาที่บริษัทสำนักงานใหญ่ที่ฮ่องกงเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากเจ้าของเครื่องหมายการค้า และเน้นย้ำถึงความสำคัญในการประสานงานกับกรมศุลกากรที่จะต้องจัดทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นอีกในอนาคต


10


อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ กรมศุลกากร ได้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบในการปฏิบัติงานของกรมศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับการรับ การเก็บรักษา และการจำหน่ายของกลางประเภททรัพย์สินทางปัญญาที่มีมูลค่าสูง ตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ที่ 21/2566 เพื่อให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น โดยในขั้นตอนการส่ง-รับของกลาง ให้เพิ่มเติม โดยให้มีการระบุเครื่องหมายกำกับของนั้นๆ (Serial No.) อย่างครบถ้วน

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages