สทนช. เปิดตัวศึกษาการจัดทำผังน้ำพื้นที่ภาคเหนือ 4 ลุ่มน้ำสำคัญ ได้แก่ ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน เน้นการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน หวังใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ - The Siamese

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Thursday, August 26, 2021

สทนช. เปิดตัวศึกษาการจัดทำผังน้ำพื้นที่ภาคเหนือ 4 ลุ่มน้ำสำคัญ ได้แก่ ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน เน้นการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน หวังใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่


บ่ายวันนี้ (18 สิงหาคม 2564) นายปรีชา สุขกล่ำ ที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผังน้ำครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พื้นที่ลุ่มน้ำน่าน ว่า สทนช. ร่วมกับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจัดการประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 1 โครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน เพื่อนำเสนอแนวคิดและขั้นตอนในการจัดทำผังน้ำ ให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบ และรับฟังสภาพปัญหาน้ำท่วม ระดับน้ำท่วมสูงสุดที่ยอมรับได้ และปัญหาน้ำแล้ง พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปประกอบการศึกษาจัดทำร่างผังน้ำ และนำมารับฟังความคิดเห็นในการประชุมครั้งต่อไป โดยได้รับเกียรติจากนายสมเกียรติ พูลสุขเสริม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดการประชุม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย คณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้ใช้น้ำ และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน กว่า 250 คน





​นายปรีชา สุขกล่ำ กล่าวว่า พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ได้กำหนดให้ สทนช. เป็นหน่วยงานหลัก





ในการดำเนินการจัดทำผังน้ำ 22 ลุ่มน้ำ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามที่กฎหมายได้ระบุไว้

และขณะนี้มีการศึกษาจัดทำผังน้ำ 14 ลุ่มน้ำ โดยเป็นการศึกษาช่วงปี 2562-2563 จำนวน 8 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล

ลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำท่าจีน และในปี 2564-2565 จัดทำผังน้ำ จำนวน 6 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำวัง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ และลุ่มน้ำภาคใต้

ฝั่งตะวันออกตอนบน โดยในปี 2566 จะดำเนินการอีก 8 ลุ่มน้ำที่เหลือ ได้แก่ ลุ่มน้ำสาละวิน ลุ่มน้ำโขงเหนือ ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ชายฝั่งตะวันออก ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก และลุ่มน้ำโตนเลสาบ

​สำหรับกระบวนการในการดำเนินการศึกษานั้น จะมีการศึกษาและทบทวนกายภาพของพื้นที่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน

ในอดีตถึงปัจจุบัน ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมือง การพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน

การรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลจากแผนที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนที่แสดงโครงข่ายระบบระบายน้ำในปัจจุบัน ทิศทางการไหลของน้ำ วิเคราะห์สภาพและสาเหตุของการเกิดอุทกภัยและภัยแล้ง แผนที่แสดงระบบป้องกันน้ำท่วมและการบรรเทาอุทกภัย

การบริหารจัดการอุทกภัย มูลค่าความเสียหายและวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา แผนที่แสดงจุดประกาศภัยแล้ง

การบริหารจัดการภัยแล้ง มูลค่าความเสียหายและวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา จากหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดทำแผนที่แสดงสิ่งปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานที่กีดขวางทางน้ำ ตลอดจนการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านเพื่อนำมากำหนดขอบเขตผังน้ำ โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์

​ซึ่งการจัดทำผังน้ำมีเจตนารมณ์เพื่อให้การบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศเกิดเอกภาพและเป็นระบบ

จึงจำเป็นต้องมีการวางผังทางน้ำและทิศทางการไหลของทางน้ำทั้งระบบขึ้นมาก่อน ซึ่งการวางผังน้ำดังกล่าวจะเป็นประโยชน์

ต่อการกำหนดนโยบาย แผนแม่บท และแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำ อีกทั้งผังน้ำดังกล่าว จะนำไปเชื่อมโยงกับผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนด การใช้ประโยชน์ที่ดินและการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำ

ในภาพรวมของประเทศให้เกิดประสานสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบต่อไปได้ โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อยู่ในระบบทางน้ำ

ตามผังน้ำจะต้องไม่ก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกระแสน้ำหรือสิ่งกีดขวางการไหลของน้ำในระบบทางน้ำ อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม




​“สทนช. คาดว่าจะสามารถจัดทำผังน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2565 โดยจะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้ใช้น้ำ และประชาชน

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จำนวน 4 ครั้งต่อลุ่มน้ำ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันพิจารณา พร้อมสะท้อนปัญหาและความต้องการ

ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างตรงจุด เพื่อให้หน่วยงานสามารถนำผังน้ำไปใช้สนับสนุนแผนงานการป้องกันแก้ไขอุทกภัยและภัยแล้ง รวมทั้งการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำได้อีกด้วย” ที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สทนช. กล่าวในตอนท้าย

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages