รายงานดังกล่าวเป็นไปตาม รายงานความปลอดภัยโลก ฉบับแรกที่เผยแพร่โดย G4S โดยการวิจัยในครั้งนี้ มีพนักงานระดับหัวหน้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (CSO) จำนวน 1,775 คนในกว่า 30 ประเทศ จากบริษัทขนาดใหญ่ระดับโลกที่มีรายได้รวมมากกว่า 20 ล้านล้านดอลลาร์ ในการเข้าร่วมการวิจัย
ผลการตอบแบบสำรวจในประเทศไทยคาดการณ์ว่า ภัยคุกคามที่เกิดจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 46% เป็น 65% ในปีหน้า ซึ่งถือได้ว่าประเทศไทย มีภัยคุกคามทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นเป็นอันดับสองของโลก โดยในปีหน้า ค่าเฉลี่ยในระดับภูมิภาคอยู่ที่ 51% และค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 49%
ภาวะความไม่สงบทางเศรษฐกิจนั้น คาดว่าจะเป็นปัญหาด้านความปลอดภัยในอันดับต้นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปีหน้า ตามที่ระบุโดยผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 54%
สำหรับภัยคุกคามภายนอกที่มีผลกระทบมากที่สุดในปีหน้า คาดว่าจะเป็นการขโมยทรัพย์สินทางกายภาพของบริษัท โดย 39% ขององค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society Organization: CSO) กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวน่ากังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มปัญหาก่ออาชญากรรมในไทยสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอยู่ที่ 24% และค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 23%
ส่วนการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังถือเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบทั้งภายในและภายนอกของประเทศไทยมากกว่าประเทศอื่นๆ ในแถบภูมิภาค โดย 46% ยังระบุว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นภัยคุกคามภายในอย่างแท้จริง ซึ่งสูงแซงหน้าค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาคที่ 29% และค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 27%
“งานวิจัยฉบับนี้ เน้นย้ำถึงความกังวลและปัญหาที่เราพบในประเทศไทย ซึ่งอัตราค่าครองชีพที่สูงขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อย่างปัญหาการโจรกรรม อย่างไรก็ตามบริษัทต่างๆ ต่างกระตือรือร้นในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้ในการป้องกันและรับมือกับภัยคุกคามดังกล่าว”
โดยองค์กรภาคประชาสังคม (CSO ) มองว่าภาวะสงครามหรือความไม่มั่นคงทางการเมืองเป็นอันตรายต่อความมั่นคงในปีหน้า คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจาก 15% เป็น 43% และคาดว่าเหตุการณ์ภาวะความไม่สงบในสังคมจะเพิ่มสูงขึ้นจาก 14% เป็น 31% เช่นเดียวกัน
บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคอื่นของประเทศไทยยังกล่าวด้วยว่า อาชญากรรมที่มีความรุนแรง คือภัยคุกคามต่อความมั่นคงอย่างแท้จริงในปีหน้า
คุณซานเจย์ เวอร์มา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจี4เอส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า:
“เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์กลางของความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มมากขึ้น”
“ซึ่งในปีหน้าจะเป็นปีแห่งความท้าทาย โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางเศรษฐกิจ ในฐานะผู้นำด้านความปลอดภัย เราตระหนักและให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ในขณะที่แถบภูมิภาคกำลังฟื้นตัวหลังเหตุการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่ โดยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้นในปี พ.ศ. 2566”
หัวข้อสำคัญอื่นๆ ที่น่าสนใจจากรายงานความมั่นคงด้านความปลอดภัยโลกในประเทศไทย มีดังต่อไปนี้ :
● บริษัทส่วนใหญ่ยังกล่าวอีกว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นภัยคุกคามภายนอกที่เป็นปัญหาใหญ่กว่าประเทศอื่นๆ ในแถบภูมิภาค ถึง 39% จากปีก่อน โดยที่ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอยู่ที่ 26% และค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 19%
● บริษัทส่วนใหญ่ยังกล่าวอีกว่า การเข้าถึงข้อมูลของบริษัทหรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต ว่าเป็นภัยคุกคามภายในของประเทศไทยที่ใหญ่กว่าประเทศอื่นๆ ในแถบภูมิภาคถึง 46% จากปีที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอยู่ที่ 37% และค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 31%
● บริษัทส่วนใหญ่ยังกล่าวอีกว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นภัยคุกคามภายในที่เป็นปัญหาใหญ่กว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคจากปีที่แล้วถึง 41% ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคคือ 30% และค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ 27%
ทิศทางอนาคตของข้อมูลเชิงลึกด้านความปลอดภัย
● ประเทศในอันดับต้นๆ ของภูมิภาคกล่าวว่าพวกเขาจะใช้ ระบบ AI อัตโนมัติด้านความปลอดภัยที่ขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมต่อเทคโนโลยี (AI-powered security automation and orchestration) ในอีกห้าปีข้างหน้า อยู่ที่ 61%
● ประเทศในลำดับรองลงมาของแต่ละภูมิภาค กล่าวว่าพวกเขาจะใช้ ระบบเฝ้าระวังและติดตามที่ขับเคลื่อนด้วย AI (AI-powered surveillance and monitoring systems ) ในอีกห้าปีข้างหน้า อยู่ที่ 57%
● โดยประเทศที่อยู่ในอันดับต้นๆ ในภูมิภาค แสดงความพร้อมที่จะใช้ เทคโนโลยีบล็อกเชนและการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology หรือย่อว่า DLT) ในอีกห้าปีข้างหน้า มากถึง 50%
No comments:
Post a Comment