ตามที่ทางคณะกรรมการกองทุนความเสี่ยง ได้มีการจัดประชุมเพื่อจัดตั้งกองทุนความเสี่ยง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 นั้น ทางประธานสภาองค์การนายจ้างทั้ง 16 สภา สมาคมนายจ้าง สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาคมพ่อค้าไทย ในฐานะตัวแทนนายจ้าง กรรมการผู้จัดการบริษัท และห้างร้านต่างๆทั่วประเทศ ได้ทำหนังสือคัดค้านการจัดตั้งกองทุนความเสี่ยงดังกล่าว ที่มีแนวคิดในการจัดเก็บเงินชดเชยไว้ก่อนล่วงหน้าจากนายจ้าง ซึ่งจะทำให้นายจ้างต้องจัดหาเงินจำนวนมหาศาลมาจ่ายให้กับกองทุนความเสี่ยงนี้ และหากนายจ้างรายใดไม่สามารถจ่ายเงินชดเชยไว้ก่อนลวงหน้าได้ จะเป็นผลให้ บริษัท ห้างร้าน หรือ นายจ้างรายนั้นถูกดำเนินคดี และถูกสั่งปิดกิจการ ซึ่งจะทำให้ส่งผลต่อเศรษฐกิจขอประเทศในภาพรวมอย่างแน่นอน
นายประสาน ทองทิพย์ ประธานสมาคมนายจ้าง กล่าวว่า ในฐานะตนเองเป็นตัวแทนของกลุ่มนายจ้างทั้งหมดซึ่งมากกว่า 16 สภา ไม่ว่าจะเป็นสมาคมนายจ้าง สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาคมพ่อค้าไททย และอีกหลายองค์กรที่ไม่สะดวกมาวันนี้ ก็ไม่เป็นเห็นด้วยกับกองทุนความเสี่ยงที่กระทรวงแรงงานจะจัดตั้งขึ้น เพราะจะส่งผลอย่างมากต่อการเงินของบริษัทในการสำรองเงิน ทุกวันนี้เศรษฐกิจทั่วโลกขาลงทั้งในประเทศไทยเราและต่างประเทศ การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องได้
ทางทีมพัฒนาประกันสังคม นำโดย ดร. ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ และผู้สมัครทั้ง 7 คน ประกอบด้วย
“ ดร.ทวีเกียรดิ รองสวัสดิ์ เบอร์ 3, นายทรงกรด ชูศรี เบอร์ 4, นางสาวเบญจพร บุษมงคล เบอร์ 5, นายชัชพงศ์ โชติศิริ เบอร์ 6, นางสาวฟารีดา บุรณนัฏ เบอร์ที่ 7,นายสมพงศ์ นครศรี เบอร์ 8 และ นางณัฐหทัย พรชัยศิริมงคล เบอร์ 62 ” ได้รับมอบหนังสือคัดค้านดังกล่าวจาก 16 สภาองค์การนายจ้าง และพร้อมที่ผนึกกำลังในการขับเคลื่อนวาระสำคัญนี้ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทั้งนายจ้างและผู้ประกันตน ภายใต้วิสัยทัศน์ของทีมในการมุ่งมั่นพัฒนาประกันสังคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนายจ้างและผู้ประกันตนอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ทางทีมพัฒนาประกันสังคมจะนำหนังสือคัดค้านมอบให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานต่อไป และสามารถติดตามข้อมูลต่างๆ ได้ที่เพจของทีมพัฒนาประกันสังคม
โดยผู้สมัครบอร์ดประกันสังคมฝั่งนายจ้างนำโดย ดร.ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ ผู้สมัครหมายเลข 3 , นายทรงกรด ชูศรี ผู้สมัครหมายเลข 4 , น.ส.เบญจพร บุษมงคล หมายเลข 5 , นายชัชพงศ์ โชติศิริ หมายเลข 6 , น.ส.ฟารีดา บุรณนัฐ หมายเลข7 , นายสมพงศ์ นครศรี หมายเลข 8 และ นางณัฐหทัย พรชัยศิริมงคล หมายเลข 62 ร่วมแถลงข่าวแสดงความมั่นใจในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ในวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคมนี้ พร้อมชู 11 นโยบายที่ออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ประกันตน นายจ้าง ตลอดจนผู้ประกอบการ ภายใต้สโลแกน “มุ่งมั่นพัฒนาประกันสังคม ให้เป็นสุขทั้งนายจ้างและผู้ประกันตน” เช่น นโยบายเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล โดยทั้งนายจ้าง และ ลูกจ้างไม่ต้องสำรองจ่าย เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการรายย่อย // ผลักดันให้สามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนประกันสังคมได้ รวมถึงการแก้ "บทกำหนดโทษ นายจ้าง ลูกจ้าง อย่างเป็นธรรม"
ดร.ทวีเกียรติ กล่าวว่าบอร์ดประกันสังคม ถือเป็นคณะกรรมการที่มีความสำคัญในฐานะที่เข้าไปมีสิทธิในการบริหารจัดการกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศที่มีงบประมาณที่มีเงินรวมกว่า 2.3 ล้านล้านบาท จึงจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความความรู้ ความเข้าใจ และ มีประสบการณ์เพื่อให้สามารถเข้าไปดูแลงบประมาณและวางแผนนโยบายได้อย่างเป็นธรรม และ มีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ผู้สมัครบอร์ดประกันสังคมฝั่งนายจ้าง “ทีมพัฒนาประกันสังคม” ยังเข้าพูดคุยกับตัวแทนผู้ประกอบการกว่า 100 คน จากสภาองค์การนายจ้างต่างๆ ซึ่งได้เสนอให้ช่วยผลักดันยกเลิกการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง เพราะถือเป็นกองทุนที่มีความซ้ำซ้อนกับกองทุนประกันสังคมในการนำเงินไปใช้เป็นสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน และ อาจเป็นภาระเพิ่มเติมให้กับผู้ประกอบการในการต้องส่งเงินเข้าสมทบ
โดยทีมผู้สมัครบอร์ดประกันสังคมได้รับเรื่องพร้อมยืนยันจะช่วยผลักดันในประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเข้าใจถึงปัญหาของผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นอุดมการณ์ และ เป้าหมายของทีมผู้สมัครจากทีมพัฒนาประกันสังคมที่ต้องการเข้าไปขับเคลื่อนกองทุนประกันสังคมเพื่อประโยชน์ของผู้ประกันตน และ นายจ้าง พร้อมเชิญชวนให้ผู้ประกอบการ และ ผู้ประกันตนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เพื่อเลือกคนดี คนเก่ง และ ผู้ที่เข้าใจหัวอกทั้งผู้ประกันตน และ ลูกจ้างเข้าไปทำหน้าที่บอร์ดประกันสังคม ในการบริหารจัดการกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศที่มีงบประมาณที่มีเงินรวมกว่า 2.3 ล้านล้านบาทให้นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และ เป็นธรรม โดยขอให้เลือกทีมผู้สมัครฯจากทีมพัฒนาประกันสังคมยกทีม 7 หมายเลข ประกอบด้วยหมายเลข 3 , หมายเลข 4 , หมายเลข 5 , หมายเลข 6 , หมายเลข7 , หมายเลข 8 และ หมายเลข 62 ให้พิจารณาในการตัดสินใจดูแลเงินของลูกจ้างและนายจ้าง ด้วย
No comments:
Post a Comment