ไทยเปิดงาน Seminar Project on ASEAN Green Cultural Entrepreneur เชิญผู้ประกอบการ 8 ประเทศอาเซียนร่วมโชว์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ขับเคลื่อนโมเดล BCG สร้างความร่วมมืออย่างยั่งยืนในอาเซียน - The Siamese

Breaking

  

Home Top Ad

37726-vi7Eg6raQbdgjvbhKv9l5Lzv3hKF9xw7

Post Top Ad

Thursday, February 16, 2023

demo-image

ไทยเปิดงาน Seminar Project on ASEAN Green Cultural Entrepreneur เชิญผู้ประกอบการ 8 ประเทศอาเซียนร่วมโชว์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ขับเคลื่อนโมเดล BCG สร้างความร่วมมืออย่างยั่งยืนในอาเซียน

1676526639742

 


นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้เปิดโครงการ Seminar Project on ASEAN Green Cultural Entrepreneur ณ กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง โดยมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตจากประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศนำโดยไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปินส์ เวียดนาม ผู้แทนจากสำนักเลขาธิการอาเซียน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิจัยและนวัตกรรมการออกแบบ และผู้สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก


1676526439722

1676526439963

1676526440632


ซึ่งโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากผลการประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ ๕๗ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ได้เห็นชอบงบประมาณกองทุนวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Cultural Fund) ในการสนับสนุนการดำเนินโครงการดังกว่าเพื่อขับเคลื่อนโมเดล BCG ตามนโยบายรัฐบาลและดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ( Sustainable Development Goals : SDGs) ในภูมิภาคอาเซียน


1676526441037

1676526441600

1676526442549

1676526442939


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า งานดังกล่าว วธ.ได้เชิญผู้ประกอบการอาวุโสและผู้ประกอบการหน้าใหม่ด้านผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมสีเขียว รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และร่วมกันสร้างแนวทางการพัฒนาธุรกิจสีเขียวที่กำลังเป็นกระแสโลกและขยายตัวอย่างมากในปัจจุบัน มุ่งเน้นผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่มีผลงานโดดเด่นได้รับการจับตามอง โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาสินค้าและบริการของชุมชนประเภทงานฝีมือ สิ่งทอ และจักสาน

1676526457402

1676526459524

1676526467489

1676526467569


โดยกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ จัดนิทรรศการ เยี่ยมชมกิจการของผู้ประกอบการไทย ณ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผู้ประกอบการวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการนำเสนอผลงานและประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และการจัดกิจกรรมไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนให้เข้าถึงอย่างแพร่หลาย
 

1676526439897

1676526442138


ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการจาก 8 ประเทศที่เข้าร่วม มีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้ 1.ไทย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ eco-printing ลีลาฝ้าย ชุมชนคุณธรรมฯวัดพลา จ.ระยอง และแบรนด์ Tembine เสื้อผ้ากระเป๋า up-cycling ชุมชนเครือข่ายวัฒนธรรมบางแค 2.กัมพูชา ได้แก่ มัดหมี่ KM Textile และมัดหมี่ Kie Khmer 3.อินโดนีเซีย ได้แก่ Handep ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มชาติพันธุ์และผลิตภัณฑ์ upcycling Setali Indonesia 4.ลาว ได้แก่ สิ่งทอ Tai Baan Crafts และสิ่งทอ Her Works 5. มาเลเซีย ได้แก่ ผ้าบาติก Ruzzgahara และเซรามิก Bangkita ceramic studio 6.เมียนมา ได้แก่ ผ้าใยบัว Hnin Witthmone และผ้าใยกล้วย Galon Minn Nyi Naung 7. ฟิลิปินส์ ได้แก่ เครื่องอุปโภคบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ECHOstore และแบรนด์เสื้อผ้า RIOtaso 8. เวียดนาม ได้แก่ แบรนด์เสื้อผ้า Kilomet และ ผู้ประกอบการด้านการจัดงานเทศกาล An Bang

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages